3 ก.ค.63 - สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่เอกสาร เรื่อง "ประเด็นเรื่องการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญ" โดยมีเนื้อหาดังนี้ตามที่ปราฏเป็นข่าวต่อสาธารณะในประเด็นที่ว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๘๙ และทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลที่ไม่มีสถานะตามกฎหมาย การทำหน้าที่และการใช้อำนาจของศาลไม่มีผลตามกฎหมายด้วยนั้น
เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตามความเป็นจริง สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญขอเรียนชี้แจงมาเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องและสอดคล้องตามความเป็นจริง ในประเต็นดังต่อไปนี้
๑. ศาลรัฐธรรมนูญจัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศและมีเพียงศาลเดียวโดยบทบัญญัติของรัฐรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ เป็นบทบัญญัติที่ว่าด้วยการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญ แยกเป็นบทเฉพาะอยู่ในหมวด ๑๑ ตั้งแต่มาตรา ๒๐๐ ถึงมาตรา ๒๑๔ โดยมีการบัญญัติเรื่องโครงสร้าง องค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจ ตลอดจนวิธีพิจารณาขององค์กรศาลที่ทำหน้าที่พิทักษ์สถานะความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๐๓ วรรคสี่ มาตรา ๒๐๘ วรรคห้า และมาตรา ๒๑๐ วรรคสอง ได้บัญญัให้มีการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญโดยมีสาระสำคัญออกเป็นสองส่วน
ได้แก่ การสรรหาและการวินิจฉัยการพ้นจากตำแหน่งของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและวิธีพิจารณาศดีของศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการดำนินงานของศาลรัฐธรรนูญ ปัจจุบันได้มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ ขึ้นใช้บังคับแล้ว โดยรัฐธรรมนูญไม่ได้มีบทให้ต้องไปบัญญัติรื่องการจัดตั้งศาลไว้นกฏหมายอื่นอีก ดังปราฏตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๐วรรคสาม ที่ไม่ให้นำรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๘๙ วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า "บรรดาศาลศาลทั้งหลายจะจัดตั้งขึ้นได้ แต่โดยพระราชบัญญัติ" มาใช้บังคับโดยอนุโลมแต่อย่างใด
แต่อย่างไรก็ดี รัฐธรมนูญ มาตรา ๒๑๐ วรรคสาม บัญญัติให้นำบทปัญญัติเกี่ยวกับหมวด ๑๐ ศาลส่วนที่ ๓ บททั่วไป ได้แก่ มาตรา ๑๘๘ (การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาล ซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์) มาตรา ๑๙๐ (พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและให้ผู้พิพากษาและตุลาการพ้นจากตำแหน่ง แต่ในกรณีที่พ้นจากตำแหน่งเพราะความตาย เกษียณอายุ ตามวาระ หรือพันจากราชการเพราะถูกลงโทษให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ)มาตรา ๑๙๓ (ก่อนเข้ารับหน้าที่ ผู้พิพากษาและตุลาการต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์) และมาตรา ๑๙๓ (ให้แต่ละศาลมีหน่วยงานที่รับผิดชอบงานธุรการที่มีความเป็นอิสระ และให้มีระบบเงินเดือนและค่าตอบแทนเป็นการเฉพาะตามความเหมาะสม) มาใช้บังคับแก่ศาลรัฐธรรมนูญด้วยโดยอนุโลม
๒. กรณีศาลรัฐธรรมนูญได้ขอถอนร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลรัฐธรมนูญและวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. .... จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ที่เคยส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเมื่อปี พศ. ๒๕๕๗ นั้น เพื่อนำกลับไปดำเนินการยกร่างใหม่ให้สอดคล้องกับร่างรัฐธรรมนูญที่อยู่ระหว่างการดำเนินการของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)
๓. รัฐธรรมนูญได้บัญญัติหน้ที่และอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญไว้ในมาตรา ๒๑๐ ในการพิจารณาวินิจฉัยความชอบต้วยรัฐธรมนูญของกฎหมายหรือร่างกฎหมาย พิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรอิสระ และหน้าที่และอำนาจอื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยที่รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๑ วรรคสี่ บัญญัติให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ
เมื่อศาลรัฐธรรนูญจัดตั้งขึ้นและมีหน้าที่และอำนาจตามรัฐธรรนูญดังกล่าวโดยตรง รวมทั้งผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ จึงไม่มีปัญหาทางกฎหมายในประเด็นเรื่องการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญ และการทำหน้าที่รวมถึงการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญตามที่ปรากฎเป็นข่าวต่อสาธารณะดังที่กล่าวในข้างตัน แต่ประการใด
"เป็นต้นฉบับ" - Google News
July 03, 2020 at 05:22PM
https://ift.tt/3eZLofe
ศาลรธน.ร่อนเอกสาร แจงยิบหลังผู้ไม่ประสงค์ดีบิดเบือนหา 'ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลที่ไม่มีสถานะตามกฎหมาย' - ไทยโพสต์
"เป็นต้นฉบับ" - Google News
https://ift.tt/2xbvptW
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3dnz7A2
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ศาลรธน.ร่อนเอกสาร แจงยิบหลังผู้ไม่ประสงค์ดีบิดเบือนหา 'ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลที่ไม่มีสถานะตามกฎหมาย' - ไทยโพสต์"
Post a Comment