Search

เมื่อ 'เทคโนโลยี' เป็นตัวช่วยการศึกษา? - กรุงเทพธุรกิจ

faca.prelol.com

13 กรกฎาคม 2563

108

เพราะการเรียนรู้ในโลกออนไลน์กลายเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเด็กรุ่นใหม่ ยิ่งมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 การเรียนการสอนในชั้นเรียน โรงเรียนต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทิศทางการศึกษาไทยจึงเป็นยุคแห่งการเข้ามาของเทคโนโลยี

“STARTDEE EDUCATION FORUM 2020” จึงจัดเวทีหาคำตอบ “เมื่อโฉมหน้าห้องเรียนหลังเปิดเทอมเปลี่ยนไป ออกแบบการศึกษาอย่างไร ให้เด็กไทยเรียนรู้ได้อย่างไร้รอยต่อ”ขณะนี้เทคโนโลยีได้เข้ามาช่วยส่งเสริมการศึกษาของไทย ดังนั้นการออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็กไทยเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะการเรียนออนไลน์ของผู้เรียน

“พริษฐ์ วัชรสินธุ” ผู้ก่อตั้ง StartDee แอพพลิเคชั่นด้านการศึกษา กล่าวว่าการออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็กไทยเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะการเรียนออนไลน์ของผู้เรียน ที่ต้องคำนึงถึง 3 ด้าน คือ 1.จูงใจ เพราะถือเป็นจุดเริ่มต้นในการดึงดูดผู้เรียนให้อยากเข้ามาเรียนในแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยการเรียนรู้ต้องเป็นเรื่องสนุก ต้องมีการสอดแทรกเกม กิจกรรมต่างๆ ซึ่งจากการศึกษาผ่านฟีเจอร์ Startdee Worldที่มีเกมเข้ามาในการเรียนรู้พบว่า ผู้เรียนมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น 72% เด็กตั้งใจเรียนมากขึ้นแม้จะไม่มีครูคอยกำกับการเรียนการสอน159448025182

2.จดจ่อ ต้องออกแบบบทเรียนที่ดึงความสนใจให้เรียนจนจบได้จากการวิเคราะห์พฤติกรรมการรับชมวิดีโอกว่า 3,000 รายการของ Startdee พบว่าคลิปที่มีความยาวประมาณ 2-3 นาทีมีอัตราการชมคลิปจนจบสูงถึง 70-80% ในขณะที่คลิปซึ่งมีความยาวเกิน 6 นาที จะมีจำนวนคนชมคลิปจนจบน้อยลงเรื่อยๆ และหากคลิปวิดีโอมีความยาวเกิน10นาที จะเหลือผู้เรียนที่รับชมคลิปจนจบเพียง 50% เท่านัน แสดงให้เห็นว่าเนื้อหาที่จะช่วยให้ผู้เรียนจดจ่อได้ ต้องไม่ยาวจนเกินไป

3.จดจำ การออกแบบออนไลน์ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ต้องเข้าใจและจดจำได้ง่าย อาจใช้วิธี Story-telling เริ่มต้นคลิปด้วยบทบาทสมมติที่สอดคล้องกับเนื้องหาที่ต้องการนำเสนอ พร้อมแอนิเมชั่นและ real-time pop-up text ที่จะช่วยให้การเรียนลื่นไหลและจดจำง่าย

159448025085

“บทบาทของเทคโนโลยีไม่ได้เข้ามาทดแทนครู แต่เข้ามาช่วยเสริมศักยภาพของครูและโรงเรียนให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเด็กและการศึกษาไทย ซึ่งการเรียนออนไลน์ที่ดีสำหรับเด็กไทยนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ โดยต้องไม่บังคับให้เรียน อย่ามองว่าการเรียนออนไลน์สามารถทดแทนการเรียนในชั้นเรียนได้ทั้งหมด และการเรียนออนไลน์ที่ดีไม่ใช่การคัดลอกในห้องเรียนมาไว้ในแพลตฟอร์มออนไลน แต่ต้องเป็นการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเด็ก”พริษฐ์ กล่าว

สิ่งที่เทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยการศึกษาไทยได้ นั้นคือ การเข้าถึงเนื้อหาการสอน ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเนื้อหาด้านวิชาการเท่านั้นแต่เป็นเนื้อหาด้านทักษะวิชาชีพร่วมด้วย รวมถึงเทคโนโลยีจะช่วยสร้างประสบการณ์การเรียน ซึ่งต้องนำเสนอเป็นคลิปสั้นๆกระชับและมีเกมให้เด็กได้เข้ามาเรียนรู้ จะมีการแลกเปลี่ยนโน้ตกับเพื่อนเรียน ตั้งกระทู้ถามตอบ ช่วยวางแผนตารางการเรียนและทบทวนการสอบ

นอกจากนั้นเทคโนโลยีสามารถเข้ามาเป็นตัวช่วยครูในห้องเรียน โดยจะเป็นทางเลือกที่เพิ่มประสิทธิภาพการสอนให้กับครู เป็นการแลกเปลี่ยน วิเคราะห์ทำให้เกิดปฎิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็กมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่เป็นการนำเทคโนโลยีมาแทนที่ครู และเทคโนโลยีจะช่วยให้การเรียนรู้เหมาะกับผู้เรียนแต่ละคนได้ เพราะการเรียนรู้ที่ดีที่สุดต้องเหมาะสมกับแต่ละบุคคล เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีศักยภาพ ความถนัดไม่เท่ากัน

159448025096

บทเรียนของการจัดการศึกษาในช่วงโควิด-19 คือ ความไม่พร้อมทั้งในส่วนของอุปกรณ์ การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของเด็ก และครูไม่พร้อมจะสอนออนไลนื หรือสอนการศึกษาทางไกล และการที่กระทรวงศึกษาธิการเลื่อนเปิดเทอมทันที ทำให้เด็กหลายคน ไม่รู้ว่าจะเรียนอะไร

“ทัฬหวิชญ์ ฐิติรัตน์สกุล”นักวิชาการด้านปฎิรูปการศึกษาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) กล่าวว่า การจะทำให้การเรียนการสอนของไทยให้มีคุณภาพ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องมาตั้งเป้าร่วมกันใหม่ ว่าอยากให้เด็กไทยเป็นอย่างไร ควรมีทักษะอะไร และควรมีการนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วม โดยต้องเลือกเครื่องมือที่จะนำใช้ อีกทั้งควรจะมีการยืดหยุ่นให้แก่โรงเรียน อย่าใช้มาตรการเดียวกันหมดกับทุกโรงเรียน เพราะทุกโรงเรียนมีความพร้อม ศักยภาพที่แตกต่างกัน ต้องให้โรงเรียนอิสระในการจะหาวิธีจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละแห่ง

การออกแบบการศึกษาให้เด็กไทย แน่นอนว่าเปลี่ยนไปจากเดิม ต้องมีการผสมผสานระหว่างออฟไลน์และออนไลน์ และ 5 ส่วนสำคัญ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคเทคโนโลยีทางการศึกษา ภาคบุคลากรทางการศึกษาหรือครู และภาคสื่อการเรียนรู้หรือตัวแทนผู้ปกครองต้องเข้ามามีส่วนร่วม

ขณะนี้เปิดเทอมมาแล้ว 2 วัน ทำให้เห็นได้ว่าการจัดการเรียนการสอนเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น ไม่มีการจัดกิจกรรมกลุ่มหรือคู่ การสลับเด็ก แบ่งกลุ่มเด็กมาเรียน ทำให้เด็กรู้สึกว่าเรียนมากขึ้น และครูหลายคนไม่ถนัดการสอนทางไกล หรือออนไลน์ “ร่มเกล้า ช้างน้อย”ครูคณิตศาสตร์ โรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม กล่าวว่าตอนนี้โรงเรียนมีการออกแบบการเรียนการสอน โดยผสมผสานทั้งการเรียนออนไลน์และออฟไลน์ร่วมกัน ภายใต้รูปแบบที่เกิดจากความคิดเห็นร่วมกันของครูทุกคน เช่น ครูทำ QR Sheet เป็นเอกสารประกอบการเรียนการสอนที่มี QR code ไปสู่คลิปบทเรียน กำกับในเนื้อหาแต่ละเรื่อง ออกแบบให้สอดคล้องกับผู้เรียน มีระดับความยากง่าย ไล่เรียงแตกต่างกันไปให้เด็กได้เลือก เป็นต้น

159448025120

“เมธวิน ปิติพรวิวัฒน์” ผู้ก่อตั้ง BASE Playhouse มองว่า การออกแบบการเรียนการสอนออนไลน์สามารถส่งต่อชุดทักษะ ความคิด ความรู้ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เด็กเป็นคนเก่งได้ แต่ต้องมีการจัดการเรียนการสอนที่ต้องคำนึงถึงความรู้ และทักษะหรือความสามารถอื่นๆ เพื่อสร้างทักษะให้แก่เด็กยุคใหม่เก่งได้ โดยใช้สัดส่วนออนไลน์มาช่วยอย่างเหมาะสม และต้องม่ทำลายความสนุกและการฝึกฝนผ่านการลงมือทำ

ขณะเดียวกัน  การเรียนออนไลน์ ต้องอาศัยบทบาทของพ่อแม่ผู้ปกครองร่วมด้วย “กัญญาภัค บุญแก้ว” ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษา บริษัทนานมีบุ๊คส์ จำกัด กล่าวว่าพ่อแม่ผู้ปกครองจะมีบทบาทอย่างมากในการส่งเสริมการเรียนออนไลน์ของเด็ก เพราะตอนนี้ถึงเวลาที่ต้องรับตัวให้เท่าทันการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ๆ และเทคโนโลยีก็มีส่วนสำคัญในการใช้ชีวิตของเด็กทุกคน ฉะนั้น การส่งเสริมให้การเรียนรู้ของเด็กทั้งด้านวิชาการและทักษะชีวิต รวมถึงการรู้จักตนเองนั้น พ่อแม่ต้องเปิดใจและยอมรับพฤติกรรมการเข้าถึงข้อมูลบนโลกออนไลน์ของลูก

159448035417

เมื่อเกิดโควิด-19 การเรียนการสอนเปลี่ยนแปลงไป มีการเรียนออนไลน์เข้ามาเสริม ที่จะทำให้เด็กอยู่ที่ไหนก็เรียนได้ หน้าที่ของพ่อแม่ต้องเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมมือกับโรงเรียนช่วยสอน ให้คำแนะนำแก่ลูก โดยเลือกเทคโนโลยีทางการศึกษาที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน

Let's block ads! (Why?)



"เป็นต้นฉบับ" - Google News
July 13, 2020 at 07:47AM
https://ift.tt/3frnx8K

เมื่อ 'เทคโนโลยี' เป็นตัวช่วยการศึกษา? - กรุงเทพธุรกิจ
"เป็นต้นฉบับ" - Google News
https://ift.tt/2xbvptW
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3dnz7A2

Bagikan Berita Ini

0 Response to "เมื่อ 'เทคโนโลยี' เป็นตัวช่วยการศึกษา? - กรุงเทพธุรกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.