ทีมนักวิทยาศาสตร์ถอดรหัสระบบพันธุกรรมของค้างคาว 6 ชนิด หวังช่วยมนุษย์รับมือการระบาดใหญ่
งานวิจัยนี้เผยให้เห็น "ระบบภูมิคุ้มกันอันดีเยี่ยม" ที่ช่วยปกป้องค้างคาวจากไวรัสสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีอันตรายถึงชีวิต
นักวิจัยหวังว่าข้อมูลที่ได้จะช่วยให้เข้าใจว่าเหตุใดค้างคาวเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ต่าง ๆ แต่กลับไม่มีอาการป่วยใด ๆ
พวกเขาหวังด้วยว่า ท้ายที่สุดแล้ว การค้นพบนี้จะช่วยมนุษย์ในการรับมือการระบาดในครั้งนี้และในอนาคต
ศ.เอ็มมา ทีลลิง จากยูนิเวอร์ซิตี คอลเลจ ดับลิน บอกว่า จากการหาลำดับคู่เบสในสายดีเอ็นเอทั้งหมด (genome sequencing) พบว่า ค้างคาวมีระบบภูมิคุ้มกันที่โดดเด่นเป็นพิเศษ
"หากเราสามารถเลียนแบบวิธีการรับมือกับไวรัสของค้างคาวที่ทำให้พวกมันต้านทานไวรัสได้ คุณก็จะสามารถมองหาวิธีการรักษาจากธรรมชาติได้" ศ.ทีลลิง กล่าว
ศ.ทีลลิง เป็นผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ Bat1K ซึ่งตั้งเป้าทำความเข้าใจจีโนม หรือกลุ่มยีนในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ของค้างคาวที่มีชีวิตอยู่ทั้ง 1,421 สายพันธุ์ เธอบอกว่าการเข้าใจการพัฒนาระบบพันธุกรรมในค้างคาวอาจสามารถนำไปสู่การชะลอความแก่ชราและโรคภัยในมนุษย์ได้ในที่สุด
เชื่อกันว่าโควิด-19 เริ่มแพร่ระบาดมาจากค้างคาว ก่อนที่จะส่งต่อมายังมนุษย์ผ่านสัตว์อีกชนิดหนึ่งซึ่งยังไม่รู้ว่าคือตัวอะไร เชื่อกันว่าโรคซาร์ส (Sars), โรคเมอร์ส (Mers) และโรคอีโบลา (Ebola) ก็แพร่ระบาดด้วยวิธีนี้เช่นกัน
อย่างไรก็ดี นักชีววิทยาและนักอนุรักษ์เตือนว่าไม่ควรไปพยายามฆ่าค้างคาว โดยหากปล่อยให้อยู่อาศัยตามธรรมชาติ ค้างคาวเสี่ยงเป็นภัยต่อสุขภาพมนุษย์น้อยมาก
นอกจากนี้ ค้าวคาวยังมีส่วนสำคัญในการรักษาสมดุลในธรรมชาติ หลายพันธุ์เป็นตัวถ่ายละอองเรณูและแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์ และบางพันธุ์ก็คอยกินแมลงหลายล้านตันต่อคืน
ศึกษาค้างคาวสายพันธุ์อะไรบ้าง
- ค้างคาวเกือกม้าใหญ่ (greater horseshoe bat หรือ Rhinolophus ferrumequinum)
- ค้างคาวผลไม้อียิปต์ (Egyptian fruit bat หรือ Rousettus aegyptiacus)
- ค้างคาวจมูกหอกสีอ่อน (pale spear-nosed bat หรือPhyllostomus discolor)
- ค้างคาวหูหนูใหญ่ (greater mouse-eared bat หรือ Myotis myotis)
- ค้างคาวลูกหนูเคอล์ส (Kuhl's pipistrelle หรือ Pipistrellus kuhlii
- ค้างคาวปากย่นขนกำมะหยี่ (the velvety free-tailed bat หรือ Molossus molossus)
พบอะไรบ้างจากงานวิจัย
จากการเปรียบเทียบระบบพันธุกรรมค้างคาวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีก 42 ชนิด นักวิจัยสามารถหาตำแหน่งแห่งที่ของพวกมันในระบบสิ่งมีชีวิตได้
ค้างคาวมีความใกล้เคียงกับกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่กินเนื้อเป็นอาหารที่สุด อาทิ สุนัข แมว แมวน้ำ
การเปรียบเทียบความต่างของระบบพันธุกรรมทำให้พบกลุ่มยีนในเซลล์ของค้างคาวที่พัฒนาไม่เหมือนสัตว์ชนิดอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นเหตุผลว่าทำไมพวกมันถึงมีความสามารถพิเศษ
นักวิจัยพบยีนส์ที่อาจทำให้ค้างคาวมีความสามารถในการหาตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุโดยคิดจากเวลาและทิศทางของการสะท้อนกลับ(echolocation) ซึ่งทำให้พวกมันหาอาหารและบินขณะมืดสนิทได้
ในการติดเชื้อไวรัสหลายประเภท มนุษย์ไม่ได้เสียชีวิตจากตัวไวรัสนั้น ๆ แต่เป็นจากการอักเสบรุนแรงที่เกิดจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายคนเรา
ค้างคาวสามารถควบคุมระบบตรงนี้ได้ ดังนั้น แม้ว่าพวกมันอาจจะติดเชื้อไวรัส แต่ก็ไม่ได้แสดงสัญญาณให้เห็นว่าติดโรคแต่อย่างใด
งานวิจัยนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสารเนเชอร์ (Nature)
"พวกเขาทั้งหมด" - Google News
July 24, 2020 at 06:42PM
https://ift.tt/2CYVMWC
โควิด-19 : เชื่อกันว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เริ่มระบาดจากค้างคาว แต่พวกมันรอดชีวิตจากไวรัสร้ายนี้ได้อย่างไร - บีบีซีไทย
"พวกเขาทั้งหมด" - Google News
https://ift.tt/2VFpqXR
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3dnz7A2
Bagikan Berita Ini
0 Response to "โควิด-19 : เชื่อกันว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เริ่มระบาดจากค้างคาว แต่พวกมันรอดชีวิตจากไวรัสร้ายนี้ได้อย่างไร - บีบีซีไทย"
Post a Comment