ทุกวันนี้ความเครียดจากการทำงาน รวมไปถึงตารางชีวิตที่แน่นทุกเวลา ไม่ได้ก่อให้เกิดผลเสียในเรื่องสุขภาพกายเพียงอย่างเดียว จากการพูดคุยกับคนรอบๆ ตัว สิ่งหนึ่งที่น่าแปลกใจคือ ผู้ชายวัยต่ำกว่า 30 ปี พบว่าตัวเองมีปัญหาเรื่องความต้องการทางเพศลดลง จึงอยากชวนพูดคุยถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันในเรื่องนี้กันค่ะ
Q: ผมเป็นผู้ชายวัยทำงานอายุยังไม่ถึง 30 ปี มีปัญหาความต้องการทางเพศลดลง รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความกระชุ่มกระชวยเหมือนเดิม ความถี่ในการช่วยตัวเองน้อยลง อวัยวะเพศไม่แข็งตัว ทั้งเวลาช่วยตัวเองหรือขณะมีเพศสัมพันธ์ แบบนี้เป็นเพราะเหนื่อยจากงานหรือความเครียดรอบตัวใช่หรือเปล่าครับ พอเอาเรื่องนี้ไปลองปรึกษาคนใกล้ๆ ตัว พบว่าน้องในที่ทำงานอายุ 23 ปีเอง ก็เจอปัญหาใกล้เคียง รวมถึงเพื่อนๆ วัยเดียวกันหลายคนก็เป็น เลยเกิดความสงสัยว่าเป็นเพราะอะไร ทั้งๆ ที่อายุยังไม่เยอะด้วยซ้ำ จึงอยากถามคุณหมอว่าจากอาการที่เล่ามาข้างต้น
- มีสาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง
- เรามีวิธีการดูแลตัวเองอย่างไรที่จะทำให้กลับมากระชุ่มกระชวยได้เหมือนเดิม
A: อาการเสื่อมสมรรถนะทางเพศในชาย มี 3 แบบ คือ 1. อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว หรือเราเรียกว่า ED (Erectile dysfunction) แบบนี้พบได้มากที่สุด รองลงมาคือ 2. ความต้องการทางเพศลด และ 3. การหลั่งอสุจิผิดปกติ เช่น หลั่งช้า หลั่งเร็ว หรือไม่หลั่ง ซึ่งอาจเป็นได้ว่าสำหรับบางคนมีอาการมากกว่า 1 ข้อจาก 3 ผสมกันเกิดเป็นอาการได้หลายแบบ
สำหรับ ED แล้ว ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอะไรเลยค่ะ เพราะเกิดขึ้นได้กับชายทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศที่การงานเร่งรัด เจอกับความเครียดสูง ถึงแม้ว่าแนวโน้มของอาการจะมีความสัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น แต่ไม่ได้แปลว่าจะไม่พบในคนอายุน้อย กลับกันคือ แม้อายุน้อยก็สามารถพบอาการนี้ได้ จากสถิติที่สำรวจชายจำนวน 27,839 คน ใน 8 ประเทศ อายุตั้งแต่ 20-75 ปี พบอัตราการเกิดเฉลี่ยร้อยละ 16 โดยในจำนวนของผู้ที่พบการเกิด ED นั้น ร้อยละ 8 พบในชายอายุ 20-30 ปี และร้อยละ 37 พบในชายอายุ 70-75 ปี
โดย ED ที่เกิดในคนสูงวัยส่วนใหญ่เกิดจากโรคทางกาย แต่ ED ที่เกิดจากคนอายุน้อยส่วนใหญ่เกิดจากโรคทางจิตวิทยา และหรือมีปัญหาที่อวัยวะเพศชาย และการเกิด ED อายุน้อยจะสัมพันธ์กับโรคหัวใจขาดเลือดที่เกิดเมื่ออายุมากขึ้น
เราลองมาทำความรู้จักสาเหตุของการเกิดอาการกลุ่มชายที่มีความเสี่ยง และวิธีแก้ไขไปพร้อมๆ กัน
สาเหตุ: เกิด ED จากปัญหาระบบต่างๆ ของร่างกายดังต่อไปนี้
- หัวใจหลอดเลือด เช่น มีโรคหัวใจ เส้นเลือดตีบ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ เคยผ่าตัดหรือฉายแสงรักษามะเร็งในอุ้งเชิงกราน
- สมองและเส้นประสาท เช่น สมองเสื่อม อัลไซเมอร์ ได้รับบาดเจ็บที่สมอง ไขสันหลัง เส้นประสาท
- ฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนเพศชายเทสโตสเตอโรนต่ำ โรคฮอร์โมนไธรอยด์ต่ำ ไธรอยด์เป็นพิษ หรือโรคฮอร์โมนต่อมหมวกไตผิดปกติ
- จิตวิทยา เช่น ซึมเศร้า เครียด วิตกกังวล เหนื่อย นอนไม่หลับ ไม่ได้พักผ่อน หรือมีปัญหาคู่ครอง
- ปัญหาอวัยวะเพศชาย เช่น มีพังผืดยึด (Peyronie’s disease, carvernous fibrosis) หรือแกนหัก (Penile fracture)
คุณลักษณะที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่ออาการ ED
- มีโรคอ้วน สุขภาพไม่แข็งแรง หรือหยุดหายใจเมื่อนอนหลับ
- สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ในจำนวนมากติดต่อกันเป็นเวลานาน
- พฤติกรรมที่นั่งนานไม่ค่อยเคลื่อนไหว หรือไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ข้อนี้มีงานวิจัยที่พบว่าคนที่เป็น ED นั้นหากหันกลับมาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะแก้ไขอาการ ED ได้ถึงร้อยละ 30
- วิตกกังวล เครียด ซึมเศร้า นอนไม่หลับ
- มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคตับ ไต ปอด ไขข้อ ภูมิแพ้ และภูมิต้านทานบกพร่อง
- รับประทานสารหรือยาบางชนิด งานวิจัยพบว่า ผลข้างเคียงของสารหรือยาใน 8 กลุ่มต่อไปนี้ เป็นสาเหตุทำให้เกิด ED ถึงร้อยละ 25 ของ ED ทั้งหมด ได้แก่ ยาลดกรด ยาต้านซึมเศร้า ยารักษาความดันโลหิตสูง ยาขับปัสสาวะ ยารักษาเชื้อรา ยารักษาต่อมลูกหมาก (ต้านฮอร์โมนเพศชาย) ยาเสพติด รวมถึงแอลกอฮอล์
วิธีแก้ไข
- ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ไม่ปล่อยให้เป็นโรคอ้วน ลดการดื่มเหล้า ลดการสุบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารครบหมู่ มีวิธีรับมือกับความเครียดที่ได้ผล
- มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ครอง มีเวลาให้กัน ทำกิจกรรมร่วมกัน เอาใจใส่ซึ่งกันและกัน
- มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ งานวิจัยพบว่า ชายที่มีเพศสัมพันธ์น้อยกว่า 1 ครั้ง ใน1 สัปดาห์ เมื่อติดตามไปนาน 5 ปี มีโอกาสเกิด ED สองเท่าของผู้มีเพศสัมพันธ์สัปดาห์ละ 1 ครั้งขึ้นไป
- หากมีโรคประจำตัว การรักษาโรคให้ใกล้เคียงปกติ จะลดการเกิด ED ได้
- ระวังการซื้อสมุนไพรมาใช้ สมุนไพรที่แก้ไข ED มักมีฮอร์โมนเพศชายระดับสูง อาจจะทำให้เกิดต่อมลูกหมากโตและมะเร็งต่อมลูกหมาก ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ
- พบแพทย์เพื่อตรวจรักษา นอกจากตรวจหาโรคที่เป็นสาเหตุ ปรับยาที่เป็นสาเหตุ แนะนำการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต แพทย์อาจใช้ยารักษา ยาแถวแรกที่นิยมเลือกใช้ (First Line Drug) ได้แก่ กลุ่ม PDE5 inhibitors เช่น Sildenafil, Vardenafil, Tadalafil, Avanafil ที่รู้จักกันดีในนาม ‘ไวอากร้า’
พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล
อ้างอิง:
- Lindau ST, Gavrilova N. Sex, health, and years of sexually active life gained due to good health: evidence from two US population based cross sectional surveys of ageing. BMJ 2010; 340:c810
- McVary KT. Clinical practice. Erectile dysfunction. N Engl J Med 2007; 357:2472.
- Hatzichristou D, Kirana PS, Banner L, et al. Diagnosing Sexual Dysfunction in Men and Women: Sexual History Taking and the Role of Symptom Scales and Questionnaires. J Sex Med 2016; 13:1166.
- Feldman HA, Goldstein I, Hatzichristou DG, et al. Impotence and its medical and psychosocial correlates: results of the Massachusetts Male Aging Study. J Urol 1994; 151:54.
- Laumann EO, Paik A, Rosen RC. Sexual dysfunction in the United States: prevalence and predictors. JAMA 1999; 281:537.
- Bacon CG, Mittleman MA, Kawachi I, et al. Sexual function in men older than 50 years of age: results from the health professionals follow-up study. Ann Intern Med 2003; 139:161.
- Lindau ST, Schumm LP, Laumann EO, et al. A study of sexuality and health among older adults in the United States. N Engl J Med 2007; 357:762.
- Selvin E, Burnett AL, Platz EA. Prevalence and risk factors for erectile dysfunction in the US. Am J Med 2007; 120:151.
- Rosen RC, Fisher WA, Eardley I, et al. The multinational Men’s Attitudes to Life Events and Sexuality (MALES) study: I. Prevalence of erectile dysfunction and related health concerns in the general population. Curr Med Res Opin 2004; 20:607.
- Esposito K, Giugliano F, Di Palo C, et al. Effect of lifestyle changes on erectile dysfunction in obese men: a randomized controlled trial. JAMA 2004; 291:2978.
- Koskimäki J, Shiri R, Tammela T, et al. Regular intercourse protects against erectile dysfunction: Tampere Aging Male Urologic Study. Am J Med 2008; 121:592.
- Fung MM, Bettencourt R, Barrett-Connor E. Heart disease risk factors predict erectile dysfunction 25 years later: the Rancho Bernardo Study. J Am Coll Cardiol 2004; 43:1405.
"เป็นต้นฉบับ" - Google News
August 01, 2020 at 11:49AM
https://ift.tt/3k44Muq
เป็นไปได้อย่างไร ผมเกิด ED (Erectile dysfunction) ทั้งที่อายุยังไม่ถึง 30 - thestandard.co
"เป็นต้นฉบับ" - Google News
https://ift.tt/2xbvptW
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3dnz7A2
Bagikan Berita Ini
0 Response to "เป็นไปได้อย่างไร ผมเกิด ED (Erectile dysfunction) ทั้งที่อายุยังไม่ถึง 30 - thestandard.co"
Post a Comment