Search

องค์กรไม่ยั่งยืน เพราะขาดผู้นำการเปลี่ยนแปลง - โพสต์ทูเดย์

faca.prelol.com

องค์กรไม่ยั่งยืน เพราะขาดผู้นำการเปลี่ยนแปลง

วันที่ 31 ส.ค. 2563 เวลา 06:30 น.

การรับมือกับปัญหาไวรัสโควิด 19 เชิงองค์รวม : องค์กรไม่ยั่งยืน เพราะขาดผู้นำการเปลี่ยนแปลง

โดย : ภก.ดร.จันทรชัย ถวิลพิพัฒน์กุล สถาบันอินทรานส์ Hipot – การปฏิรูปศักยภาพมนุษย์อย่างบูรณาการ ศาสตร์ชีวิตองค์รวมเพื่อความมั่นคงยั่งยืน

เพราะองค์กรคือชีวิต มนุษย์ต้องการการยอมรับ ในขณะที่เรากำลังติดต่อสื่อสารด้วยกิริยาท่าทางอยู่นั้น โลกภายในทั้งสองก็กำลังดำเนินไปในลักษณะที่ว่า “ใครก็ตามเห็นฉันมีค่า ฉันก็เห็นเขามีค่าเช่นกัน” แต่หากใครไม่เห็นฉันมีค่าไม่ว่าเธอจะตะโกนดังแค่ไหนฉันก็ไม่ได้ยินเรื่องใดๆก็ยากไปหมดนี่คือเงื่อนไขสำคัญที่สุดของการสร้างภาวะผู้นำ

ความท้าทายของผู้นำองค์กร

โลกสังคมเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไม่แน่นอนคลุมเครือและซับซ้อนส่งผลกระทบอย่างเป็นวงกว้างในทุกภาคส่วนระบบเดิมล่มสลายการปรับตัวเป็นไปอย่างรุนแรงทั้งด้านสังคมเศรษฐกิจความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิต

เมื่อพิจารณาถึงความเป็นองค์กร บุคลากรขาดความสามารถในการแข่งขัน ไม่สามารถพัฒนาศักยภาพและขับออกมาได้อย่างเต็มที่ ไม่สามารถสร้างแรงบันดาลใจ แรงขับเคลื่อนภายใน ไม่สามารถนำตนเองได้ นอกจากนี้ บุคลากรยังขาดความเข้าใจในแนวคิดเชิงระบบ จึงขาดกระบวนการเรียนรู้ ขาดองค์ความรู้ จึงแก้ปัญหาเชิงซับซ้อนไม่ได้ อีกทั้งขาดมุมมองเชิงองค์รวม จึงขาดความคิดสร้างสรรค์ ไม่สามารถสร้างนวัตกรรมที่แตกต่าง ที่แปลกใหม่ ไม่สามารถสร้างองค์กรให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ได้ ยิ่งไปกว่านั้น บุคลากรขาดศรัทธา ไม่เปิดใจกว้างรับฟัง ไม่เข้าใจกัน ทีมงานจึงไม่เข้มแข็ง ขาดการเสริมพลังร่วม ขาดความร่วมมือ เล่นไม่เป็นทีม ไม่สอดคล้องไปในแนวเดียวกัน

ด้วยเหตุนี้ องค์กรจึงต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอดและยั่งยืน และการเปลี่ยนแปลงนั้นต้องการผู้นำการเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อพิจารณาถึงประเด็นด้านผู้นำการเปลี่ยนแปลง เราพบว่ามักมีอาการปัญหาดังต่อไปนี้

1. ตนในฐานะตำแหน่งผู้นำองค์กรที่มีประสบการณ์มากกว่าตนจึงพยายามสอนและถ่ายทอดให้ทุกอย่าง

แม้ให้ผลตอบแทนอย่างดี แต่ทำไมเวลาสั่งการอะไรลงไป กลับไม่มีใครฟัง พวกเขาไม่เคยทำตาม รับปากไปก็เท่านั้น เล่นก็ไม่เป็นทีม ไม่ไปในแนวเดียวกัน ขาดการมีส่วนร่วม ไม่ทุ่มเท ไม่เกื้อกูล ไม่ยืนมือ ไม่เสียสละ ไม่ช่วยเหลือกัน 

นั่นเป็นเพราะว่าผู้นำองค์กรขาดความเข้าใจว่าคนคือมนุษย์มนุษย์มีชีวิตที่ต้องการคุณค่าและความหมายพวกเขาต้องการการยอมรับต้องการกำลังใจต้องการความเข้าใจต้องการการมอบอำนาจความเชื่อใจไว้วางใจต้องการการเห็นคุณค่าแต่ผู้นำไม่ค่อยให้ความสำคัญยิ่งไกว่านั้นผู้นำยังยึดติดอยู่กับตำแหน่งและคิดว่าตนสามารถสั่งการหรือทำอะไรก็ได้ทุกอย่างตามที่ตนต้องการซึ่งเป็นเรื่องเข้าใจผิดแต่เมื่อเขาไม่ได้รับการยอมรับมันเหมือนกับว่าผู้นำไม่เห็นเขามีค่าดังนั้นเขาจึงไม่เห็นคุณค่าในตัวผู้นำด้วยจึงไม่เกิดการยอมรับกันหนักเข้าก็แบ่งฝักแบ่งฝ่ายการทำงานจึงไปคนละทิศคนละทางไม่เป็นหนึ่งเดียว

2. ตนในฐานะผู้นำองค์กรตนก็พยายามผลักดันทุกอย่างทำงานอย่างหนักเพื่อเป็นแบบอย่างแต่ทำไมทุกคนดูเฉื่อยชาขาดความมุ่งมั่นทุ่มเทขาดความกระตือรือร้น

นั่นเป็นเพราะว่า แม้ตนจะเข้าใจว่าบุคคลมีศักยภาพที่ซ่อนอยู่ภายในอย่างเหลือเฟือ แต่ไม่รู้ว่าจะพัฒนาเพิ่มเติมได้อย่างไร เพราะไม่เข้าใจถึงธรรมชาติของศักยภาพที่แท้จริงว่าคืออะไร มันอยู่ในรูปของอะไร และก็ไม่รู้ว่าจะขับมันออกมาใช้อย่างเต็มที่ได้อย่างไร

3. ตนในฐานะผู้นำองค์กร มีวิสัยทัศน์กว้างไกล องค์กรมีทิศทาง มีเป้าหมายและยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน มีค่านิยมร่วม แต่ทำไมบุคลากรเล่นไม่เป็นทีม ยังสับสน เดินไปคนละทิศคนละทาง ไม่สอดคล้องไปในแนวเดียวกัน

นั่นเป็นเพราะว่า บุคลากรขาดเป้าหมายร่วม มองคนละภาพ เข้าใจคนละแบบ ต่างคนต่างทำ แยกส่วน ขาดความเชื่อมโยง ไม่เสริมกัน ขาดพลังร่วม ยิ่งไปกว่านั้น ตนในฐานะผู้นำองค์กรยังขาดความเข้าใจมุมมองเชิงระบบ ไม่สามารถโน้มน้าวและเชื่อมโยงให้บุคลากรมองภาพเดียวกัน และขับศักยภาพนั้นออกมาเพื่อผลักดันยุทธศาสตร์ให้เป็นแนวปฏิบัติที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันได้

ทางออกของปัญหา 

การแก้ปัญหาผู้นำการเปลี่ยนแปลงในทุกวันนี้ องค์กรส่วนใหญ่มักเน้นแต่การพัฒนาด้านทักษะการบริหารจัดการ ระเบียบโครงสร้าง และขั้นตอนการทำงาน ซึ่งถือว่ายังไม่ตรงประเด็น  แล้วอะไรคือรากของปัญหา ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า ในขณะที่บุคคลกำลังมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในรูปของพฤติกรรมนั้น

ในขณะนั้น โลกภายในก็กำลังก้องสะท้อนระหว่างกันอยู่ โลกภายในนี้คือตัวตน ตัวตนต้องการคุณค่าและความหมาย ดังนั้น ในขณะที่เรากำลังติดต่อสื่อสารด้วยกิริยาท่าทางอยู่นั้น โลกภายในทั้งสองก็กำลังดำเนินไปในลักษณะที่ว่า “ใครก็ตามเห็นฉันมีค่า ฉันก็เห็นเขามีค่าเช่นกัน” แต่หากใครไม่เห็นฉันมีค่าไม่ว่าเธอจะตะโกนดังแค่ไหนฉันก็ไม่ได้ยินเรื่องใดๆก็ยากไปหมด

นี่คือเงื่อนไขสำคัญที่สุดของการสร้างภาวะผู้นำ และส่งผลเป็นความสำเร็จขององค์กร หากเงื่อนไขดังกล่าวไม่ได้รับการตอบสนองแล้ว อาการของปัญหาก็ปรากฏตามที่กล่าวข้างต้น 

ดังนั้น อาการปัญหาต่างๆในรูปของความสัมพันธ์ล้วนเป็นเรื่องปลายเหตุเบื้องลึกของเหตุแห่งปัญหาที่แท้จริงจึงเป็นคุณค่าที่ซ่อนอยู่ภายในระหว่างบุคคลหากคุณค่านี้ได้รับการตอบสนองแล้วอะไรๆก็ง่ายไปหมด

คุณสมบัตินี้สำคัญอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงภาวะผู้นำ เพราะภาวะผู้นำนี้มิได้วัดกันด้วยตำแหน่ง แต่วัดกันที่พฤติกรรมการแสดงออกว่า สะท้อนถึงความมีคุณค่าของบุคคลที่เราสัมพันธ์ด้วยมากน้อยเพียงใด

ดังนั้น ผู้นำนอกจากจะเป็นผู้นำโดยตำแหน่งแล้วยังต้องแสดงออกถึงคุณค่าและความหมายของผู้ตามด้วยเพราะองค์กรคือชีวิตเมื่อบุคคลได้รับการยอมรับได้รับความไว้วางใจเมื่อนั้นบุคคลจึงรู้สึกเข้มแข็งเกิดความเชื่อมั่นสามารถพัฒนาและขับศักยภาพออกมาได้อย่างเต็มที่สามารถนำตนเองได้เกิดความมุ่งมั่นกระตือรือร้นเล่นเชิงรุกจากจุดนี้จะเป็นก้าวสำคัญนำไปสู่การเห็นคุณค่าในความแตกต่างใจจึงเปิดกว้างรับฟังเกิดความเข้าใจกันไว้วางใจกันเกิดศรัทธาเชื่อมั่นและยอมรับซึ่งกันและกันทั้งหมดนี้จึงนำไปสู่ภาวะผู้นำที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงสร้างทีมงานอย่างมีสวนร่วมเกิดการเชื่อมโยงที่สอดคล้องไปในแนวเดียวกันอย่างเป็นเอกภาพองค์กรจึงมีความเข้มแข็งมั่นคงยั่งยืน

Let's block ads! (Why?)



"เป็นต้นฉบับ" - Google News
August 31, 2020 at 06:47AM
https://ift.tt/3jrc62j

องค์กรไม่ยั่งยืน เพราะขาดผู้นำการเปลี่ยนแปลง - โพสต์ทูเดย์
"เป็นต้นฉบับ" - Google News
https://ift.tt/2xbvptW
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3dnz7A2

Bagikan Berita Ini

0 Response to "องค์กรไม่ยั่งยืน เพราะขาดผู้นำการเปลี่ยนแปลง - โพสต์ทูเดย์"

Post a Comment

Powered by Blogger.