เสือตัวที่ 6
แม้กระบวนการบ่มเพาะแนวคิดการก่อความไม่สงบในสถานศึกษาบางแห่งในพื้นที่แห่งนี้ จะไม่ปรากฏให้เห็นพฤติกรรมที่ชัดเจนเช่นในอดีต แต่ก็ยังสามารถวิเคราะห์ได้ว่า กระบวนการบ่มเพาะแนวคิดที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติต่อเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาบางแห่ง ยังคงมีอยู่ต่อไป เพียงแต่การปรับเปลี่ยนรูปแบบของกระบวนการให้มีความแนบเนียน สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยปรากฏการณ์ที่มีการติดตามจับกุมผู้ต้องหาในคดีความมั่นคง ที่ร่วมกันก่อเหตุความรุนแรงในพื้นที่ ก็ได้มีการติดตามตรวจพบหลักฐานพยานวัตถุและหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ชัดเจนว่า สถานศึกษาบางแห่งในพื้นที่ เป็นแหล่งซ่องสุมบ่มเพาะแนวคิดความรุนแรงตลอดจนเก็บซ่อนวัตถุในการก่อเหตุร้าย ด้วยสถานศึกษา เป็นแหล่งที่มีการรวมตัวกันของกลุ่มคน ที่เอื้ออำนวยต่อการถ่ายทอดความคิดความเห็นที่แปลกแยกจากรัฐออกไป
ประกอบกับในสถานศึกษานั้น เป็นแหล่งที่มีองค์ประกอบสำคัญคือ ครู อาจารย์ ของสถานศึกษาที่เป็นผู้มีอิทธิพลทางความคิดอย่างสูงต่อผู้เรียน จึงง่ายต่อการถ่ายทอดความคิดใดๆ ให้เกิดขึ้นในมโนสำนึกของผู้เรียน หน่วยงานภาครัฐ จึงต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับการช่วงชิงการนำในสถานศึกษาในพื้นที่เป็นความสำคัญลำดับแรกๆ ของการแก้ปัญหาการแบ่งแยกผู้คนในพื้นที่ออกจากคนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งหากหน่วยงานภาครัฐละเลยการเข้าถึงสถานศึกษา ด้วยการช่วงชิงการนำการเรียนการสอนแล้ว ย่อมเป็นช่องว่างให้นักจัดตั้งมวลชนของขบวนการร้ายแห่งนี้ สอดแทรกเข้าไปต่อเติมความเห็นต่างให้เด็กและเยาวชน โดยเฉพาะในช่วงการเรียนการสอนทางศาสนาที่หน่วยงานภาครัฐ ยากที่จะเข้าไปสอดส่องดูแลได้
การช่วงชิงการนำในการเรียนการสอนทางศาสนาในสถานศึกษาที่ล่อแหลมนั้น หน่วยงานภาครัฐ จึงต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง ด้วยการเข้าถึงการเรียนการสอนในวิชาการทางศาสนาเป็นลำดับแรก หน่วยงานภาครัฐ โดยจะต้องมีมาตรการในการสอดแทรกครูสอนศาสนา หรือมีมาตรการในการสอบทานการสอนของครูสอนช่วงศาสนาได้ ตลอดจนการมีเครือข่ายครูและนักเรียนที่เป็นฝ่ายรัฐคอยให้ข้อมูลสิ่งบอกเหตุ หรือมีการแนวคิดการปฏิบัติที่ล่อแหลมต่อการสร้างความเกลียดชังให้เกิดขึ้นระหว่างเด็กและเยาวชนกับภาครัฐ ทั้งในสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนา และศูนย์อิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ที่ตั้งอยู่ในชุมชนทุกแห่ง โดยการจัดระเบียบการเรียนการสอนหลักศาสนาให้เป็นมาตรฐานและเกื้อกูลต่อการอยู่ร่วมกันโดยสันติวิธี รวมทั้งการช่วงชิงการนำการเรียนการสอนในวิชาทางศาสนาอย่างกลมกลืน
เมื่อช่วงชิงการนำในการเรียนการสอนในสถานศึกษาทุกแห่งที่อาจเป็นช่องว่างให้ฝ่ายเห็นต่างสร้างความคิด ความเชื่อที่เป็นภัยต่อความเป็นปึกแผ่นของชาติได้แล้ว หน่วยงานภาครัฐ จะต้องมีมาตรการในการสร้างคนดีมีทัศนะที่ดีต่อรัฐ เป็นตัวแทนรัฐ ในการเข้าไปสอนศาสนาในสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนา และ ในศูนย์อิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ที่ตั้งอยู่ในชุมชนทุกแห่ง โดยจัดให้เป็นโครงการที่เป็นระบบ และต่อเนื่อง ในลักษณะพี่สอนน้อง ตลอดจนการสร้างสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนาศรัทธา ในรูปแบบเดียวกันกับชุมชนศรัทธา ที่รัฐได้สร้างกลุ่มดาอี ซึ่งเป็นกลุ่มคนมุสลิมฝ่ายรัฐที่แตกฉานในหลักศาสนาขึ้นมา
โดยรัฐต้องอำนวยความสะดวกในการดำเนินการของกลุ่มดาอีอย่างมีพลัง และมีความต่อเนื่อง เปิดทรรศนะอย่างกว้างขวางระหว่างกันได้ตามหลักการอิสลาม และการสลายแนวความคิดและการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับกลุ่มเป้าหมาย การสลายแนวความคิดและการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับกลุ่มเป้าหมาย เป็นกระบวนการที่ต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง และควบคู่กันไปอย่างสัมพันธ์ประสานสอดคล้องและเกื้อหนุนกันมิได้แยกออกจากกันอย่างชัดเจน นอกจากนั้น หน่วยงานภาครัฐ จะต้องจัดระบบการศึกษาที่สามารถตรวจสอบได้ โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จังหวัดในพื้นที่ จะต้องเร่งการจัดระบบการบริหารจัดการของตนเองให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นสากลมากขึ้น และต้องมีกลยุทธ์ในการจัดระบบการศึกษาของสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนาในพื้นที่ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน สามารถตรวจสอบกระบวนการจัดการเรียนการสอนได้อย่างแท้จริง ทั้งการเรียนการสอนสายสามัญและสายศาสนา
รวมทั้ง การเร่งสร้างความเข้มแข็งให้สถานศึกษาของรัฐ ด้วยในปัจจุบัน สถานศึกษาของรัฐที่จัดการเรียนการสอนทั้งสายสามัญและสายศาสนาในพื้นที่ กำลังถูกสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนาในพื้นที่ทำการตลาด แย่งเด็กและเยาวชนไปเรียนในสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนามากขึ้น ดังนั้น การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถานศึกษาของรัฐ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เป็นตัวจักรสำคัญในการหล่อหลอมกล่อมเกลาเด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการแก้ปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่และร่วมกันพัฒนาท้องถิ่น และการจัดระบบให้ผู้นำชุมชนของรัฐร่วมรับผิดชอบสถานศึกษา โดยหน่วยงานภาครัฐ จะต้องมีกลยุทธ์ ออกมาตรการในการจัดระบบให้ผู้นำชุมชนของรัฐ โดยเฉพาะกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ในหมู่บ้านที่มีสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนาตั้งอยู่ ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการการศึกษาของสถานศึกษาในพื้นที่ เพื่อร่วมกันให้ความคิดเห็น แสดงทัศนะ และเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน และร่วมตรวจสอบความโปร่งใสของการดำเนินการในทุกมิติของสถานศึกษาให้มากขึ้น เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมจากผู้นำชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในสถานศึกษาในพื้นที่มากขึ้น เป็นสถานศึกษาของชุมชนโดยชุมชน เพื่อคนในชุมชนอย่างแท้จริง พร้อมรับการตรวจสอบจากทุกหน่วยงานได้ตลอดเวลา
ควบคู่กับการนำความร่วมมือจากองค์กรเอกชน โดยหน่วยงานภาครัฐต้องแสวงหาความร่วมมือสนับสนุนจากองค์กรภาคเอกชนที่มีความพร้อมอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะองค์กรภาคเอกชนที่อยู่นอกพื้นที่ มาร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา ทั้งทางกายภาพและวิธีคิด อันจะช่วยให้เกิดกระแสใหม่ที่ปิดกั้นแนวคิดเดิมที่อาจเป็นอุปสรรคในการพัฒนา ร่วมกับช่วงชิงการนำโครงการสนับสนุนจากต่างประเทศ โดยหน่วยงานภาครัฐ จึงต้องเร่งออกมาตรการ หรือโครงการสนับสนุนนักเรียนที่ต้องการศึกษาต่อในต่างประเทศ ในสถาบันที่ทำข้อตกลกร่วม (MOU) กับรัฐ เพื่อเพิ่มทางเลือก สร้างโอกาสให้เยาวชนที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยม 6 ในพื้นที่ ได้เข้ารับการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่รัฐบาลมีความสัมพันธ์ด้วยมากขึ้น โดยการแสวงหาความร่วมมือกับองค์กรภาคเอกชนร่วมให้การสนับสนุนการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในต่างประเทศที่คัดสรรแล้วในหลายมิติ มากกว่าการให้การสนับสนุนอย่างเป็นเอกเทศจากสถาบันจากต่างประเทศในปัจจุบัน ซึ่งหากหน่วยงานภาครัฐ สามารถดำเนินการตามมาตรการข้างต้น ก็เชื่อแน่ได้ว่า จะสามารถช่วงชิงการนำ ทำให้การเข้าถึงเด็กและเยาวชนในสถานศึกษากลับเป็นผู้เห็นต่างอย่างสร้างสรรค์ในรูปแบบพหุวัฒนธรรมตามต้องการ
"เป็นต้นฉบับ" - Google News
August 24, 2020 at 12:10AM
https://ift.tt/3hmAEJi
ช่วงชิงการนำ - สยามรัฐ
"เป็นต้นฉบับ" - Google News
https://ift.tt/2xbvptW
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3dnz7A2
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ช่วงชิงการนำ - สยามรัฐ"
Post a Comment