Search

บัญญัติ ชำแหละ รธน. ชี้เอื้อซื้อ ส.ส.-นายทุนใช้พรรคเป็นเครื่องมือหากิน - ไทยรัฐ

faca.prelol.com

“บัญญัติ” ชำแหละ รธน. ชี้ 7 ประเด็น ไม่เป็นประชาธิปไตย ชี้เอื้อประมูล ซื้อ ส.ส เปิดทางนายทุนใช้พรรคเป็นเครื่องมือหากิน เทียบ รธน.20 ฉบับ ปี 60 แก้ไขยากสุด ลั่น โอกาสเปิดช่องต้องแก้ทันที

วันที่ 25 ส.ค. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานกำหนดประเด็น ข้อเสนอและรายละเอียดการแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในหัวข้อ “การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทางออก ทางรอด” ให้สมาชิกและสาขาพรรค ผ่านระบบแอปพลิเคชันซูมว่า พรรคประชาธิปัตย์นับตั้งแต่ นายชวน หลีกภัย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรค ขณะนั้น และตน แสดงออกชัดว่า ไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับ การจะเป็นรัฐธรรมนูญที่มีความเหมาะสม ควรแก่การรับหรือไม่นั้น มอง 3 ส่วน คือ 1. ที่มาของรัฐธรรมนูญ 2. กระบวนการจัดทำ และ 3. เนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเนื้อหาอย่างน้อย 7 ประเด็น ที่พิจารณา 

ประเด็นที่ 1. มีเนื้อหาที่สร้างความยุ่งยากหลายเรื่องที่มองเห็นชัดเจน คือ 1.1 การเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ใช้เวลาในการประกาศผลช้าที่สุด โดยใช้เวลาเกือบ 2 เดือน กว่าจะประกาศผลได้ เพราะสูตรการนับคะแนนยุ่งไปหมด 1.2 การคำนวณบัญชีรายชื่อพรรค ภายใต้สูตรของระบบจัดสรรปันส่วนผสม โดยเฉพาะคำว่า “จำนวน ส.ส. ที่พึงมีตามรัฐธรรมนูญ” ยังเถียงกันไม่จบสิ้น 1.3 บางคนได้เป็น ส.ส. ภายใต้ระบบการเลือกตั้งนี้เพียง 1 สัปดาห์ในปีแรก ที่มีการเลือกตั้งใหม่ มีการนับคะแนนใหม่ แต่ต้องพ้นจากความเป็น ส.ส. ไป 1.4 มีพรรคการเมืองมากที่สุดในสภาฯ ซึ่งมีมากกว่า 20 พรรค เฉพาะในรัฐบาล ก็มีตั้ง 19 พรรค เมื่อการนับผลคะแนนเลือกตั้งล่าช้า ก็ทำให้การตั้งรัฐบาลก็ล่าช้าออกไป เป็นผลให้การพิจารณางบประมาณ ออกมาได้ช้า ซึ่งส่งผลต่อการอัดฉีดระบบเศรษฐกิจมีปัญหาตามมา

นายบัญญัติ กล่าวต่อว่า ประเด็นที่ 2 ปัญหาจากรัฐธรรมนูญปี 60 เป็นการทำลายความรู้สึกของนักประชาธิปไตย ที่มีความเชื่อว่า ประชาธิปไตยจะเข้มแข็งได้ ก็ต่อเมื่อมีพรรคการเมืองที่เข้มแข็ง แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ กลับทำลายจุดแข็งนั้น โดยเฉพาะระบบจัดสรรปันส่วนผสมที่บอกว่า ทุกคะแนนมีความหมาย ทุกคะแนนไม่ตกน้ำ ฟังดูดี แต่เป็นระบบการเลือกตั้ง ที่นำไปสู่การเน้นคุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้ง มากกว่าที่จะเน้นพรรคการเมือง หากใช้ไปนานวัน พรรคการเมือง จะถูกลดความสำคัญลงไป ทำให้ ส.ส. หลงตัวเองมากขึ้น เพราะคิดว่า ตัวเองได้รับเลือกตั้งมาด้วยตัวเอง ทำให้ความภักดีต่อพรรค วินัยพรรค การไม่ปฏิบัติตามมติพรรค เกิดขึ้นตามมา ประเด็นที่ 3 ผลของระบบเลือกตั้งนี้ ให้ความสำคัญกับผู้สมัคร จะทำให้เกิดการประมูลตัวผู้สมัครรับเลือกตั้ง พฤติกรรมเหล่านี้ เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต โดยเฉพาะ ส.ส. ที่อยู่ในสภาเป็นเวลานานๆ ล้วนเคยเห็นเหตุการณ์เหล่านี้มาแล้วทั้งนั้นว่า เกิดการประมูลตัวผู้สมัครรับเลือกตั้ง พรรคการเมืองจะใช้เงินมากขึ้น ส่งผลให้พรรคการเมือง ต้องอาศัยนายทุน เมื่อพรรคการเมืองกลายเป็นเครื่องมือของทุนนั้น ก็จะนำไปสู่ “การใช้ทุนสร้างพรรค ใช้พรรคยึดกุมอำนาจรัฐ แล้วใช้อำนาจรัฐเพิ่มทุน” เป็นอันตรายต่อประเทศมาก ทั้งด้านเศรษฐกิจ และความเหลื่อมล้ำในสังคม ประเด็นที่ 4 ที่ระบุว่า คะแนนเสียงไม่ตกน้ำก่อให้เกิดอันตราย เพราะสมัยก่อน เมื่อพรรคการเมือง จะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง จะดูว่าสู้ได้หรือไม่ แม้กระทั่งนักเลือกตั้ง นักซื้อเสียง ก็ยังไม่กล้าซื้อเสียง ถ้าไม่มั่นใจ แต่ระบบการจัดสรรปันส่วนผสมนี้ ซื้อแล้วไม่สูญหาย เพราะเมื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งแพ้ แต่มีการนำคะแนนที่ได้มาคำนวณบัญชีรายชื่อพรรค ก่อให้เกิดการซื้อเสียง คาดว่า หากระบบนี้ยังใช้ต่อไป การเลือกตั้งครั้งหน้า ก็จะมีการซื้อเสียงมากขึ้นไปอีก

นายบัญญัติ กล่าวต่อว่า ประเด็นที่ 5 ระบบไพรมารีโหวต ที่มีการกำหนดค่าสมาชิกพรรค หากสอบถามสาขาพรรคการเมืองต่างๆ ในเวลานี้ ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ ก็กลายเป็นปัญหาได้ ประเด็นที่ 6 เนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยากที่จะแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ 19 ฉบับก่อนหน้านี้ ในส่วนที่เป็นฉบับถาวร มี 13 ฉบับ แก้โดยใช้เสียงข้างมากของ สมาชิกทั้ง 2 สภารวมกัน คือ เกินครึ่งก็แก้ได้ มีจำนวน 4 ฉบับ ที่ใช้เสียง 2 ใน 3 ของสมาชิก 2 สภารวมกัน ซึ่งอาจถือหลักว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ดังนั้นหากใช้เสียงเกินครึ่ง ก็อาจดูเหมือนเป็นการแก้ไขกฎหมายธรรมดา จึงได้ให้ความศักดิ์สิทธิ์เอาไว้ และที่สำคัญ คือ มีเพียงฉบับเดียว คือ ฉบับปี 2475 หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ ที่ให้ใช้เสียง 3 ใน 4 ในการแก้ไข ซึ่งไม่เคยมีรัฐธรรมนูญฉบับไหนเลยที่บอกว่า แม้จะได้รับคะแนนเสียงจากฝ่ายข้างมากเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขแล้ว ยังจำเป็นต้องได้รับเสียงสนับสนุนเห็นชอบด้วยจากสมาชิกวุฒิสภาไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 คือ 84 เสียง ได้จากสมาชิกวุฒิสภา 84 เสียง ยังไม่พอ ยังเขียนต่อไปอีกว่า ยังต้องได้รับเสียงเห็นชอบอย่างน้อยร้อยละ 20 ในจำนวนสมาชิกของพรรคการเมือง ที่ไม่ได้ร่วมรัฐบาลด้วย หรือไม่ได้มีตำแหน่งในรัฐสภาด้วย “ผมบอกว่าหลักอย่างนี้ มันไม่ได้เดินตามหลักของประชาธิปไตยที่ว่า ใช้เสียงข้างมากเป็นหลักเลย มันกลายเป็นว่าเสียงข้างมาก จะมากเท่าไรก็ไม่มีประโยชน์ ถ้าเสียงข้างน้อยที่ว่านี้ (84 เสียง กับร้อยละ 20) ไม่เห็นชอบด้วย”

ส่วนประเด็นที่ 7 บทเฉพาะกาลที่เกี่ยวกับอำนาจของส.ว.ในการเลือกนายกฯ และอื่นๆ ที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมทั้งหมด ล้วนเป็นปัญหาที่ต้องยอมรับความเป็นจริงว่า ห่างไกลประชาธิปไตยมากไปหน่อย ดังนั้นจึงมั่นใจว่าหลังจากมีการแต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ขึ้นมาแล้ว ประเด็นเหล่านี้คงได้รับการนำเสนอต่อ ส.ส.ร. ต่อไป ทั้งหมดนี้คือ เนื้อหาที่ประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยตั้งแต่ต้น แต่พรรคก็ต้องเคารพกฎหมาย และปฏิบัติตาม แต่ใจนึกอยู่ตลอดเวลาว่า โอกาสเปิดช่องเมื่อไหร่ต้องแก้ไข เราจึงได้ยื่นเงื่อนไข 3 ต้อง คือ ต้องยอมรับนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะ ม.256 ซึ่งเป็นมาตราที่แก้ยากที่สุด และต้องบริหารราชการอย่างสุจริตอีกด้วย

นายบัญญัติ กล่าวต่อว่า ส่วน 3 ความหวังในเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญนั้น พรรคจะผลักดันให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ตั้ง ส.ส.ร. ร่างฉบับใหม่ อีกทั้งการแถลงข่าวของประธาน กมธ.แก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 31 ก.ค. ยิ่งเป็นการสร้างความหวังในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และพรรคร่วมฝ่ายค้าน ที่รวมมีเสียงเกินกว่า 1 ใน 5 สามารถยื่นแก้ไขได้ตามมาตรา 256 ที่สำคัญอีกความหวังที่จะได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน คือ พรรคร่วมรัฐบาลก็มีความเห็นร่วมกันว่า จะเดินตามแนวที่คณะ กมธ. แก้ไขรัฐธรรมนูญ จะตั้ง ส.ส.ร.จำนวน 150 คน จากผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ผู้แทนพรรคการเมือง รวมถึงผู้แทนจากกลุ่มนิสิต นักศึกษาเข้าไปด้วย ที่ให้ความสำคัญกับคนรุ่นใหม่ เปิดโอกาสให้พวกเขาเข้ามามีบทบาทร่วมด้วย ซึ่งประธานสภาได้มีการกำหนดวัน เวลา ไว้ต้นเดือนนี้ จะมีการบรรจุระเบียบวาระ ดังนั้น เมื่อร่างฯ ดังกล่าวได้เข้าไปอยู่ในการพิจารณาของรัฐสภา แต่ต้องรอดูท่าทีของวุฒิสภา (ส.ว.) ด้วยว่าจะเอาอย่างไร เพราะมีหลายคนออกมาขานรับพอสมควร จึงทำให้การแก้รัฐธรรมนูญเป็นไปได้มากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม...

Let's block ads! (Why?)



"เป็นต้นฉบับ" - Google News
August 25, 2020 at 01:28PM
https://ift.tt/3liVNWU

บัญญัติ ชำแหละ รธน. ชี้เอื้อซื้อ ส.ส.-นายทุนใช้พรรคเป็นเครื่องมือหากิน - ไทยรัฐ
"เป็นต้นฉบับ" - Google News
https://ift.tt/2xbvptW
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3dnz7A2

Bagikan Berita Ini

0 Response to "บัญญัติ ชำแหละ รธน. ชี้เอื้อซื้อ ส.ส.-นายทุนใช้พรรคเป็นเครื่องมือหากิน - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.