กมธ.การเงิน ชี้วิกฤตประเทศ รุนแรงเป็นประวัติศาสตร์ ประเมินให้สิ้นสุดยาก
วันที่ 22 ส.ค. 2563 เวลา 10:23 น.
โควิด-19 : ผลสัมมนา กมธ.การเงิน การคลัง ภาคเหนือ ชี้ “วิกฤตประเทศ” รุนแรงเป็นประวัติศาสตร์ ประเมินให้สิ้นสุดยากเหมือน “มหาสมุทรที่เวิ้งว้าง ยังมองไม่เห็นฝั่ง”
คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง สถาบันการเงินและตลาดการเงิน สภาผู้แทนราษฎร ได้จัดสัมมนา เรื่อง“การลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก : ภาคเหนือ เมื่อวันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการการเงิน การคลังฯ เป็นประธานจัดงาน โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาจากทุกภาคส่วนกว่า 200 คน
จากการสัมมนาดังกล่าว สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1) วิกฤตของประเทศครั้งนี้รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์กว่า 100 ปี เพราะมิใช่เป็นเพียงวิกฤติเศรษฐกิจเท่านั้น ยังเป็นวิกฤติด้านสาธารณสุข จึงทำให้ยากต่อการประเมินได้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด เปรียบเสมือน “มหาสมุทรที่เวิ้งว้าง ยังมองไม่เห็นฝั่ง”
2) วัฒนธรรมไทย แตกต่างจากวัฒนธรรมตะวันตก จึงเป็นจุดแข็งให้การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อยู่ในระดับต่ำ จนอาจกล่าวได้ว่า ประเทศไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ดีที่สุดในโลก
3) แม้ว่าหนี้ครัวเรือนมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในสถานการณ์เช่นนี้ ควรเร่งบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนผู้เดือดร้อนโดยการผ่อนคลายมาตรการปล่อยสินเชื่อของธุรกิจ Micro Finance และ Nano Finance โดยให้นำโฉนดที่ดิน ที่ดิน สปก. มาใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกู้เงินได้
4) นโยบายการคลัง ภายใต้มาตรการต่างๆ ของรัฐในปัจจุบัน ประกอบกับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563-2564 ยังเป็นรูปแบบเดิมๆ ที่ไม่ตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาวิกฤติโควิด-19
5) พ.ร.ก.กู้เงิน 3 ฉบับ ไม่ว่าจะเป็น Soft Loan หรืองบฟื้นฟู 4 แสนล้าน ก็ยังไม่ตอบโจทย์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างตรงเป้าเท่าที่ควร
6) รัฐต้องมีมาตรการให้พักชำระหนี้และดอกเบี้ยแก่ผู้ประกอบธุรกิจ โดยต้องจัดทำข้อตกลงร่วมกัน 3 ฝ่ายระหว่างรัฐ ผู้ประกอบธุรกิจ ธนาคาร ในการแบ่งสัดส่วนภาระหนี้อย่างชัดเจน
7) ผู้ประกอบธุรกิจไม่ควรมีการปลดพนักงานในช่วงวิกฤตินี้
8) รัฐต้องเข้าไปมีบทบาทดูแลธุรกิจการท่องเที่ยว โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ เช่น จัดตั้งกองทุนเข้ามาอุดหนุน เป็นต้น
9) ธนาคารออมสิน และธนาคาร ธ.ก.ส. ควรมีการจ้างงานนักศึกษา และ/หรือบัณฑิตจบใหม่ มาช่วยสำรวจจัดเก็บข้อมูล และขึ้นทะเบียนผู้เดือดร้อนทั่วประเทศ
10) ข้อกำหนดภายใต้มาตรการจัดสรรเงินเยียวยาและช่วยเหลือผู้เดือดร้อนกลุ่มอาชีพต่างๆ จากภาครัฐ คือ ให้ผู้ได้รับการเยียวยาต้องแลกเปลี่ยนด้วยการทำประโยชน์เพื่อสังคม เช่น การปลูกป่า เป็นต้น
11) “กัญชง” เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ที่จะช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ชาวไร่ทดแทนการปลูกยาสูบ
การสัมมนาดังกล่าว มีวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยนายชูชาติ เพ็ชรอำไพ ประธาน กก.บห. บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) นายวิทัย รัตนากร ผอ.ธนาคารออมสิน นายณรงค์ ขันติวิริยะกุล ผอ.ฝ่ายสินเชื่อบุคคล ธกส. ผอ.สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม ภาคเหนือ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ และประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งข้อมูลที่ได้รับจากวิทยากร ความเห็นและข้อเสนอแนะจากการสัมมนา ภาคเหนือครั้งนี้ คณะกรรมาธิการการเงิน การคลังฯ จะนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานของสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
"เป็นต้นฉบับ" - Google News
August 22, 2020 at 10:27AM
https://ift.tt/2QgC2RK
กมธ.การเงิน ชี้วิกฤตประเทศ รุนแรงเป็นประวัติศาสตร์ ประเมินให้สิ้นสุดยาก - โพสต์ทูเดย์
"เป็นต้นฉบับ" - Google News
https://ift.tt/2xbvptW
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3dnz7A2
Bagikan Berita Ini
0 Response to "กมธ.การเงิน ชี้วิกฤตประเทศ รุนแรงเป็นประวัติศาสตร์ ประเมินให้สิ้นสุดยาก - โพสต์ทูเดย์"
Post a Comment