(เก็บความจากเอเชียไทมส์WWW.asiatimes.com)
Why China is taking over the ‘American century’
by Dilip Hiro
19/08/2020
แทนที่จะตั้งหน้าตั้งตาหาทางช่วงชิงความยอดเยี่ยมทางเทคโนโลยีในอดีตของตนเองกลับคืนมา
สหรัฐฯกลับกำลังพึ่งพาอาศัยการกระหน่ำโจมตีจีน ตลอดจนการสั่งห้ามและการกีดกันทางด้านเทคต่อแดนมังกร
สำหรับพวกเจ้าหน้าที่อาวุโสของคณะบริหารทรัมป์แล้ว มันคือช่วงฤดูกาลอันเปิดกว้างเสรีอย่างแท้จริงสำหรับการกระหน่ำโจมตีจีน ถ้าหากคุณต้องการให้ยกตัวอย่างล่ะก้อลองนึกถึงตัวประธานาธิบดีทรัมป์เองที่เล่นไม่ยอมหยุดในเกมประณามกล่าวโทษเกี่ยวกับ “ไวรัสจีนจอมล่องหน” (the
invisible Chinese virus) ขณะที่ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่แพร่กระจายออกไปอย่างชนิดเอาไม่อยู่ตลอดทั่วทั้งสหรัฐฯ
อันที่จริงแล้ว เมื่อมันเป็นเรื่องเกี่ยวกับจีน การวิพากษ์วิจารณ์แบบสร้างความเกลียดชังยิ่งกว่านี้นักหนาดูเหมือนไม่เคยยุติหยุดยั้งลงเลย
ระหว่างช่วงสิ้นเดือนมิถุนายนจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา สมาชิก 4 คนที่อยู่ในระดับคณะรัฐมนตรีของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประชันแข่งขันกันและกันในการสำรอกคำพูดถ้อยคำต่อต้านจีนออกมา การกระหน่ำโจมตีจีนชุดที่ว่านี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ คริสโตเฟอร์ เรย์ (Christopher Wray) ผู้อำนวยการสำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐฯ (เอฟบีไอ) กล่าวบรรยายถึงประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน ว่าเป็นทายาทของ โจเซฟ สตาลิน (Josef Stalin) จอมเผด็จการโซเวียต
มันถูกต่อยอดโดยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ไมค์ พอมเพโอ ขณะเขาเรียกร้องอย่างเสียงดังฟังชัดให้เหล่าพันธมิตรทั้งหลายของสหรัฐฯจับตามองอุดมการณ์ลัทธิมาร์ก-ลัทธิเลนิน “ที่ล้มละลายไปแล้ว” (“bankrupt” Marxist-Leninist ideology) ของผู้นำจีน และความเรียกร้องต้องการที่จะ “วางตัวเป็นเจ้าในระดับโลก” ซึ่งมาพร้อมกับอุดมการณ์ดังกล่าว โดยที่พอมเพโอยืนกรานว่าชาติพันธมิตรเหล่านี้จะต้องเลือกเอา “ระหว่างเสรีภาพหรือระบอบเผด็จการ” (โดยที่เขาคงหลงลืมไปแล้วว่า ประเทศไหนบนพื้นพิภพนี้กันแน่ ซึ่งประกาศอ้างออกมาจริงๆ ว่า ฐานะความเป็นเจ้าในระดับโลกเป็นสิทธิอันชอบธรรมของตน)
เวลาเดียวกันนั้น เพนตากอน (กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ) ก็จัดส่งเรือบรรทุกเครื่องบินของตนหลายลำพร้อมกับอาวุธยุทโธปกรณ์อื่นๆ เข้าไปในทะเลจีนใต้และน่านน้ำอื่นๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก ในลักษณะข่มขู่คุกคามยิ่งกว่าที่เคยเป็นมาในอดีต
คำถามมีอยู่ว่า: อะไรอยู่เบื้องหลังการที่คณะบริหารทรัมป์กำลังเพิ่มการยั่วเย้ารังแกจีนเช่นนี้? คำตอบที่เป็นไปได้อย่างสูงสามารถค้นหาได้จากคำพูดคำจาอย่างโผงผางของประธานาธิบดีทรัมป์เมื่อตอนที่เขาให้สัมภาษณ์ คริส วอลเลซ (Chris Wallace) แห่งโทรทัศน์ฟ็อกซ์นิวส์ ในเดือนกรกฎาคม ที่ว่า “ผมไม่ใช่เป็นผู้แพ้ที่ดีหรอก ผมไม่ชอบการตกเป็นฝ่ายแพ้”
ความเป็นจริงมีอยู่ว่า ภายใต้โดนัลด์ ทรัมป์ สหรัฐฯกำลังพ่ายแพ้จีนแล้วจริงๆ ในปริมณฑลสำคัญ 2 ปริมณฑล อย่างที่ เรย์ ผู้อำนวยการเอฟบีไอ พูดเอาไว้ว่า “ในแง่ของเศรษฐกิจและแง่เทคโนโลยี (จีน) กลายเป็นคู่แข่งที่อยู่ในระดับทัดเทียมกับสหรัฐฯไปเรียบร้อยแล้ว ...ในโลก (แห่งโลกาภิวัตน์) ชนิดที่ผิดแผกแตกต่างไปจากเดิมเป็นอย่างมาก”
พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ จีนกำลังก้าวผงาดขึ้นมา ส่วนสหรัฐฯกำลังตกต่ำลงไป อย่างไรก็ดี อย่าได้ประณามกล่าวโทษเพียงแค่ทรัมป์และบริวารของเขาสำหรับเรื่องนี้ เนื่องจากมันเป็นสิ่งที่มีการก่อตัวและคืบคลานเข้ามาเรื่อยๆ เป็นเวลานานแล้ว
ตัวเลขข้อเท็จจริงต่างๆ จำนวนมากเป็นสิ่งที่สามารถให้ภาพเช่นนี้ได้อย่างชัดเจน จีนซึ่งแทบไม่ได้รับความกระทบกระเทือนอะไรนักจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างแรงทั่วโลกในช่วงปี 2008-2009 ได้ก้าวขึ้นแทนที่ญี่ปุ่นในฐานะเป็นระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกเมื่อเดือนสิงหาคม 2010 ในปี 2012
ด้วยมูลค่าการนำเข้าและการส่งออกที่อยู่ในระดับ 3.87 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จีนได้แซงหน้าสหรัฐฯซึ่งทำได้รวม 3.82 ล้านล้านดอลลาร์ และกระชากเอาสหรัฐฯให้หลุดออกจากตำแหน่งที่เคยครอบครองมาเป็นเวลานาน 60 ปี ในฐานะการเป็นชาติที่มีการค้าขายข้ามพรมแดนเป็นอันดับ 1 ของโลก
เมื่อถึงสิ้นปี 2014 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของจีน เมื่อวัดคำนวณกันโดยใช้ค่าเสมอภาคที่กำหนดโดยกำลังซื้อ (purchasing power parity) จะอยู่ที่เท่ากับ 17.6 ล้านล้านดอลลาร์ สูงกว่าเล็กน้อยจากระดับ 17.4 ล้านล้านดอลลาร์ของสหรัฐฯ ซึ่งครองตำแหน่งเป็นระบบเศรษฐกิจรายใหญ่ที่สุดบนพื้นพิภพนี้มาโดยตลอดตั้งแต่ปี 1872 เป็นต้นมา
ในเดือนพฤษภาคม 2018 รัฐบาลจีนได้เผยแพร่แผนการ “เมดอินไชน่า 2025” (Made in China 2025) ซึ่งกำหนดจุดมุ่งหมายที่จะดำเนินการพัฒนาอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมไฮเทค 10 แขนง เป็นต้นว่า รถยนต์ไฟฟ้า, เทคโนโลยีสารสนเทศเจเนอเรชั่นหน้า, การสื่อสารโทรคมนาคม, วิทยาการหุ่นยนต์ระดับก้าวหน้า, และปัญญาประดิษฐ์
แขนงสำคัญๆ อื่นๆ ที่ระบุเอาไว้ในแผนการดังกล่าวนี้ ยังประกอบด้วย เทคโนโลยีการเกษตร, วิศวกรรมการบินและอวกาศ, การพัฒนาวัสดุสังเคราะห์, วิทยาการที่กำลังเกิดขึ้นใหม่ๆ ของการแพทย์ชีวภาพ, และโครงสร้างพื้นฐานด้านรางไฮสปีด
แผนการนี้ตั้งจุดมุ่งหมายที่จะให้จีนบรรลุการพึ่งตนเองได้ 70%ในอุตสาหกรรมไฮเทคต่างๆ และมีฐานะเหนือล้ำทรงอิทธิพลกว่าเจ้าอื่นๆ ในตลาดระดับโลกของอุตสาหกรรมเหล่านี้ภายในปี 2049 อันเป็นช่วงเวลาครบรอบ 100 ปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน
สำหรับผลิตภัณฑ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลายทั้งปวงแล้ว เซมิคอนดักเตอร์เป็นชิ้นส่วนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด และในปี 2014 เอกสารแนวทางปฏิบัติสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมแผงวงจรรวมแห่งชาติของรัฐบาลจีน ได้ระบุวางเป้าหมายเอาไว้ข้อหนึ่งว่า จีนจะกลายเป็นผู้นำในระดับโลกรายหนึ่งในด้านเซมิคอนดักเตอร์ภายในปี 2030
ในปี 2018 อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ หรือ ชิป ภายในจีน ได้ยกระดับก้าวขึ้นมาจากแค่การบรรจุหีบห่อและการตรวจทดสอบซิลิคอนอย่างง่ายๆ มาสู่การออกแบบชิปและการผลิตชิปซึ่งมีมูลค่าสูงกว่า ในปีต่อมา สมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์สหรัฐฯ (US Semiconductor Industry Association) ชี้ว่า ขณะที่อเมริกาเป็นผู้นำของโลกด้วยการมีส่วนแบ่งในตลาดโลกเกือบๆ ครึ่งหนึ่งทีเดียวนั้น แต่จีนคือภัยคุกคามสำคัญที่สุดต่อฐานะครอบงำเช่นนี้ของสหรัฐฯ เนื่องจากมีการลงทุนของภาครัฐอย่างใหญ่โตมหึมาในด้านโรงงานผลิตเชิงพาณิชย์ และการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
อันที่จริงเมื่อถึงตอนนั้น สหรัฐฯได้ถูกจีนแซงหน้าไปเรียบร้อยแล้วในด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่พูดกันอยู่นี้ ทั้งนี้ การศึกษาชิ้นหนึ่งของ ชิงหนาน เซี่ย (Qingnan Xie) แห่งมหาวิทยาลัยหนานจิง และ ริชาร์ด ฟรีแมน (Richard Freeman) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ชี้ให้เห็นว่า ระหว่างปี 2000 จนถึงปี 2016 ส่วนแบ่งของจีนในเรื่องจำนวนบทความทางวิชาการซึ่งตีพิมพ์ตามวารสารทั่วโลกในด้านวิทยาศาสตร์กายภาพแขนงต่างๆ, วิศวกรรมศาสตร์, และคณิตศาสตร์ ได้เพิ่มขึ้นมา 4 เท่าตัว
และแซงหน้าส่วนแบ่งของสหรัฐฯ
ในปี 2019 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ที่มีการรวบรวมตัวเลขเกี่ยวการขอจดทสิทธิบัตรเมื่อปี 1978 เป็นต้นมา สหรัฐฯล้มเหลวไม่อาจรักษาฐานะการเป็นประเทศผู้ยื่นขอจดรายใหญ่ที่สุดของโลกเอาไว้ได้อีกต่อไป โดยตามตัวเลขข้อมูลขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization) จีนได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรรวม 58,990 เรื่อง ส่วนสหรัฐฯยื่น 57,840 เรื่อง
นอกจากนั้น นี่ยังเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันแล้วที่ หัวเว่ย เทคโนโลยีส์ (Huawei Technologies) บริษัทไฮเทคสัญชาติจีน แซงหน้าบริษัทควอลคอมม์ (Qualcomm) โดยที่ในปี 2019 นั้น หัวเว่ยยื่นขอจดสิทธิบัตร 4,144 เรื่อง ส่วนควอลคอมม์ยื่น 2,127 เรื่อง
ในส่วนของสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (University of California) ของสหรัฐฯ ยังคงรักษาตำแหน่งอันดับ 1 ในเรื่องจำนวนบทความทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ด้วยตัวเลข 470 เรื่อง แต่มหาวิทยาลัยชิงหวา (Tsinghua University) ของจีน สามารถครองอันดับ 2 ด้วยจำนวน 265 เรื่อง และที่น่าสนใจมากก็คือในจำนวนมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่เด่นที่สุดในเรื่องนี้ 5 แห่ง ปรากฏว่าเป็นมหาวิทยาลัยจีน 3 แห่ง
"เป็นต้นฉบับ" - Google News
August 20, 2020 at 11:57PM
https://ift.tt/3j2qHkm
อะไรทำให้'จีน'ผงาดขึ้นมาในช่วงเวลาที่สหรัฐฯวาดหวังให้เป็น “ศตวรรษแห่งอเมริกัน” - ผู้จัดการออนไลน์
"เป็นต้นฉบับ" - Google News
https://ift.tt/2xbvptW
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3dnz7A2
Bagikan Berita Ini
0 Response to "อะไรทำให้'จีน'ผงาดขึ้นมาในช่วงเวลาที่สหรัฐฯวาดหวังให้เป็น “ศตวรรษแห่งอเมริกัน” - ผู้จัดการออนไลน์"
Post a Comment