"Weekly Highlight" สัปดาห์นี้ (29 มิ.ย.-3 ก.ค.) จะมาเจาะลึกกับข่าวสารสำคัญในรอบสัปดาห์ประจำวันที่ 29 มิถุนายน 2563
เริ่มต้นกับการสรุปภาพรวมตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์ที่แล้ว (22-26 มิ.ย.) SET INDEX ปิดที่ระดับ 1,330.34 จุด ปรับตัวลดลง 2.95% จากสัปดาห์ก่อน โดยกลุ่มหุ้นที่ปรับตัวลดลงมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ลดลง 6.6% รองลงมาคือกลุ่มธุรกิจการเงิน ลดลง 6.1% และสุดท้ายคือกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ลดลง 5.8%
ปัจจุบันนักลงทุนทั่วโลกยังคงอยู่ในโหมดเฝ้าระมัดระวังการทรุดตัวของเศรษฐกิจรอบใหม่ หลังจากหลายประเทศผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์เพื่อต้องการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่ในทางกลับกันก็เกิดเป็นประเด็นความเสี่ยงของการระบาดซ้ำรอบใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและจีน ตามรายงานข้อมูลล่าสุดพบว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกเพิ่มขึ้นมากกว่า 10 ล้านราย พร้อมคร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 500,000 รายในระยะเวลาเพียง 7 เดือนเท่านั้น ส่งผลให้ทิศทางของตลาดหุ้นทั่วโลกหลังจากนี้เริ่มที่จะมีกรอบการฟื้นตัวที่จำกัดมากขึ้น
ขณะที่ภาพรวมตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน มิ.ย. แม้ว่าในช่วงสั้นนักลงทุนจะยังคาดหวังต่อปัจจัยบวกกรณีศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เตรียมประกาศผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ระยะที่ 5 ในวันที่ 29 มิ.ย.และคาดจะเริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ก.ค.เป็นต้นไป ขณะเดียวกันเองก็ยังมีประเด็นบวกจากความคาดหวังกระแสการไหลเข้าของเม็ดเงินกลุ่มนักลงทุนสถาบันที่มักจะทำ "Window Dressing ช่วงสิ้นสุดไตรมาส โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ตัวเลขทางบัญชีแสดงผลกำไรจากการถือหุ้นของแต่ละกองทุนในรอบไตรมาสนั้น รวมถึงเม็ดเงินจากกองทุนลดหย่อนภาษีวงเงินพิเศษ หรือ SSFX ที่จะสิ้นสุดระยะเวลาซื้อหน่วยลงทุนในเดือน มิ.ย.นี้ด้วย
แต่ท่ามกลางรอยต่อก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ไตรมาส 3/63 อย่างเป็นทางการ นักวิเคราะห์ต่างประเมินกันว่าปัจจัยบวกดังกล่าวอาจช่วยสนับสนุนบรรยากาศลงทุนแค่ชั่วคราวเท่านั้น พร้อมกับแนะนำให้เกาะติดกับการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ว่าจะแสดงถึงความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังมากน้อยแค่ไหน
สอดคล้องกับความเห็นของ นางสาววิลาสินี บุญมาสูงทรง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.โกลเบล็ก ที่ประเมินภาพรวมผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 2/63 จะยังมีแนวโน้มที่ไม่สดใส โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่คาดจะเริ่มทยอยประกาศผลประกอบการไตรมาส 2/63 อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 21 ก.ค. เป็นต้นไป ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยลบฉุดความเชื่อมั่นของนักลงทุนอีกระลอก แม้ว่าก่อนหน้านี้หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์จะเผชิญกับแรงขายมาบ้างแล้วก็ตาม ทั้งนี ประเมินภาพรวม SET INDEX ในรอบสัปดาห์นี้จะแกว่งตัวในกรอบแนวรับที่ 1,300 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,350 จุด ตามลำดับ
"ระยะสั้นตลาดหุ้นไทยจะมีปัจจัยบวกในประเทศ แต่เชื่อว่าคงจะหนุนบรรยากาศซื้อขายแค่ 2-3 วันเท่านั้น เพราะงบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 2/63 ฝ่ายวิจัยฯประเมินว่าจะออกมาไม่ดี เพราะแต่ละธนาคารประกาศลดดอกเบี้ยช่วยเหลือลูกหนี้ไป 2 ครั้งช่วงเดือน เม.ย. และเดือน พ.ค. กระทบโดยตรงกับรายได้ที่เกิดจากดอกเบี้ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมที่โดนผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว นอกจากนั้นยังมีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ระยะที่สองด้วย แม้ว่าหนี้เสียที่ยังทรงตัวเพราะอยู่ในช่วงมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ยังไม่จัดชั้นขึ้นเป็น NPL แต่เมื่อหากหมดมาตรการดังกล่าวมีโอกาสที่หนี้เสียจะเร่งขึ้นมาชัดเจน เป็นสิ่งที่ต้องระวังและติดตามกันต่อไป" นางสาววิลาสินี กล่าว
"ธนาคารกสิกรไทย" ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสัปดาห์นี้ (29 มิ.ย.-3 ก.ค.) อยู่ที่ 30.70-31.20 บาทต่อดอลลาร์ โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ การพิจารณาผ่อนปรนกิจการ/กิจกรรมเฟสต่อไป สถานการณ์โควิด-19 รวมถึงสถานการณ์ระหว่างสหรัฐฯและประเทศคู่ค้า ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ บันทึกการประชุมเฟด ดัชนี PMI ภาคการผลิต ข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานเดือนมิ.ย. ขณะที่ ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ยอดค้าปลีกและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ค. ของญี่ปุ่น ดัชนี PMI ภาคการผลิต/บริการเดือนมิ.ย. ของจีน ญี่ปุ่นและยูโรโซน รวมถึงดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมิ.ย. (เบื้องต้น) ของยูโรโซน
https://youtu.be/FzjnBnOMon4
"แสดงผล" - Google News
June 29, 2020 at 08:10AM
https://ift.tt/3dAWZjy
เตือน!! กับดัก Window Dressing-กองทุน "SSFX" "โกลเบล็ก" - อาร์วายที9
"แสดงผล" - Google News
https://ift.tt/3cS0tOw
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3dnz7A2
Bagikan Berita Ini
0 Response to "เตือน!! กับดัก Window Dressing-กองทุน "SSFX" "โกลเบล็ก" - อาร์วายที9"
Post a Comment