เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. การปราศรัยหาเสียงของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ที่เมืองทัลซา รัฐโอคลาโฮมา ไม่ได้เป็นไปตามที่เขาหวังไว้
มีคนเข้าฟังแค่ราว 1 ใน 3 ของสนามที่มีความจุ 19,000 คน และส่วนหนึ่งเป็นผลจากวัยรุ่นและแฟนเพลงเค-ป๊อบ ใช้แอปพลิเคชัน TikTok เชื้อเชิญให้เพื่อน ๆ พวกเขาลงทะเบียนขอรับบัตรเข้าฟังการปราศรัยโดยไม่ได้ตั้งใจจะไปจริง ๆ เพื่อแกล้งประธานาธิบดี
คน 'Gen Z' คือใคร
คน 'Gen Z' (Generation Z) หรือที่ฝรั่งเรียกกันว่า "ซูมเมอร์" (Zoomers) เป็นชื่อเล่นที่เรียกคนที่เกิดกลางทศวรรษ 90 จนถึงต้น ๆ ช่วงปี 2010 โดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญยังถกเถียงกันอยู่ว่าจะเริ่มนับและถือว่าสิ้นสุดที่ปีไหนกันแน่
คำว่า "ซูมเมอร์" เป็นการเล่นกับคำว่า "บูมเมอร์" (Boomers) ซึ่งเป็นชื่อเล่นของคนยุค "เบบี้บูม" (baby boom) ซึ่งเกิดระหว่างปี 1944 ถึง 1964
ทำไมคนยุคนี้ถึงสำคัญ
หากดูเรื่องตัวเลขแล้ว คนยุคนี้กำลังจะ "ครอง" โลก โดยหากดูจากบางมาตรวัด พวกเขาเป็นกลุ่มคนที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก คิดเป็น 32% ของประชากรทั้งหมด
ส่วนคน "Gen Y" หรือ คนยุคมิลเลนเนียล(Millennials) ซึ่งเกิดระหว่างปี 1981 ถึง 1996 ยังเป็นกลุ่มคนในช่วงอายุที่นับว่าเป็นผู้ใหญ่ที่มากที่สุด แต่ธนาคารโลกบอกว่าคน 'Gen Z' คิดเป็น 41% ของคนวัยทำงานทั่วโลกแล้ว
พวกเขาแตกต่างจากคนยุคอื่นจริงหรือ
นักมานุษยวิทยาบอกว่ามีหลายเหตุผลที่คน 'Gen Z' มีความโดดเด่น
ที่สำคัญอย่างหนึ่งคือพวกเขาเกิดมาในยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ คน 'Gen Z' ทั่วโลกใช้โซเชียลมีเดียมาก และในบางภูมิภาคก็ใช้มากกว่าคนยุคมิลเลนเนียลหากดูจำนวนชั่วโมงที่ใช้โซเชียลมีเดียต่อวัน
มีงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า คน 'Gen Z' เกือบ 60% ใช้โซเชียลมีเดียเป็นแหล่งข่าวที่แรก
มีงานวิจัยอีกชิ้นที่บอกว่า ในบางประเทศ คนยุคนี้มีแนวโน้มจะเรียนต่อสูงกว่าคนยุคที่ผ่าน ๆ มา
เช่นเดียวกับคนยุคมิลเลนเนียล คน 'Gen Z' กล้าที่จะเข้าร่วมการเคลื่อนไหวต่าง ๆ และก็อาจจะเริ่มเร็วกว่าด้วย
แบบสำรวจในสหราชอาณาจักรเมื่อปี 2018 ชี้ว่า คน 'Gen Z' มีความมุ่งมั่นซื้อสินค้าที่มีจริยธรรมในทางธุรกิจมากกว่าตอนที่คนยุคมิลเลนเนียลอายุเท่ากันถึง 2 เท่า
ผู้มีชื่อเสียงที่สุดจากคนยุคนี้คือ มาลาลา ยูซาฟไซ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ วัย 22 ปี และ เกรียตา ทุนแบร์ย นักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมชื่อดังชาวสวีเดน
พวกเขามีความหลากหลายทางเชื้อชาติมากกว่าหรือเปล่า
เป็นเฉพาะบางประเทศ ในสหรัฐฯ เด็กยุค 'Gen Z' ถือว่ามีความหลากหลายทางเชื้อชาติมากที่สุดในประวัติศาสตร์ประเทศ
ในปี 2019 ศูนย์วิจัยพิว (Pew Research Centre) ประเมินว่าคน 'Gen Z' ในสหรัฐฯ 52% เป็นคนผิวขาว ขณะที่ในจำนวนประชากรทั้งหมด มีคนผิวขาว 60%
และคนยุค 'Gen Z' ก็ยังมีความหลากหลายทางเชื้อชาติมากขึ้นในหลายประเทศ เนื่องจากมีผู้อพยพย้ายเข้าไปจำนวนมากในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา
พวกเขาเปิดใจกว้างมากกว่าคนยุคอื่นหรือเปล่า
มูลนิธิวาร์คีย์ (Varkey Foundation) ซึ่งเป็นมูลนิธิด้านการศึกษา สัมภาษณ์คน 20,000 คน ซึ่งอายุระหว่าง 15-21 ปี ใน 20 ประเทศ พบว่า
89% สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ 63% สนับสนุนสิทธิ์ในการทำแท้ง และ 63% สนับสนุนการแต่งงานของเพศเดียวกัน
อย่างไรก็ดี มีเพียง31% เท่านั้นที่เชื่อว่ารัฐบาล "ควรช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้อพยพได้ทำงานและอาศัยอย่างถูกกฎหมาย" ในประเทศพวกเขา
แล้วความคิดทางการเมืองล่ะ
พวกเขาเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการใช้โซเชียลมีเดีย แต่มีส่วนร่วมทางการเมืองแค่ไหนกัน
ถ้าดูจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อปี 2016 ที่นายทรัมป์ชนะ คนอายุ 18-29 ปี ถือเป็นกลุ่มช่วงอายุผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่ออกไปใช้สิทธิ์ต่ำที่สุด โดยคิดเป็นแค่ 50%
อย่างไรก็ดี คนออกไปใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้งกลางสมัยในสหรัฐฯ เพิ่มจาก 20% ในปี 2014 เป็น 36% ในปี 2018 นักวิเคราะห์บางคนบอกว่าความแตกต่างนี้เป็นผลจากการที่คนยุค 'Gen Z' ที่อายุถึงเกณฑ์มากขึ้น
และเป็นคนรุ่นใหม่นี้เองที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใหม่ ๆ ในสหรัฐฯ อาทิ การเลือกอเล็กซานเดรีย โอคาซิโอ-คอร์เทซ วัย 30 ปี เข้าเป็นสมาชิกสภาคองเกรสผู้หญิงที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์
และก็ไม่น่าแปลกใจเลยที่ โอคาซิโอ-คอร์เทซ จะมาทวีตข้อความชื่นชมเด็กรุ่นใหม่ที่ไปแกล้งนายทรัมป์สำเร็จโดยบอกว่า "พวกคุณทุกคนทำให้ฉันภูมิใจมาก"
เมื่อปี 2016 มีคนรุ่นใหม่เพียง37% ที่สนับสนุนนายทรัมป์ ขณะที่ 55% สนับสนุนฮิลลารี คลินตัน จากพรรคเดโมแครต
อย่างไรก็ดี จะไปตั้งสมมติฐานว่าคนรุ่นใหม่จะมีความคิดเอียงซ้ายแน่นอนก็ไม่ได้ เนื่องจาก 60% ของคนที่ลงคะแนนเสียงให้ ชาอีร์ โบลโซนาโร ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีบราซิลเมื่อปี 2018 เป็นคนอายุระหว่าง 18-24 ปี
แม้ว่าเรื่องการเมืองและแฟนเพลงเค-ป๊อบ จะดูไม่ค่อยเข้ากันนัก แต่คนกลุ่มนี้ก็เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ที่มีส่วนร่วมในประเด็นสังคมและการเมือง รวมถึงงานการกุศล มาสักพักแล้ว
ในช่วงที่ผ่านมา กลุ่มแฟนเพลงเค-ป๊อบ ถือเป็นพันธมิตรสำคัญของผู้ชุมนุมต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติ 'Black Lives Matter' โดยช่วยระดมทุนและก็เรียกคนสนับสนุนในโซเชียลมีเดียทั่วโลก
ด้วยฐานเสียงที่โตขึ้นเรื่อย ๆ ทั่วโลก การมีส่วนร่วมทางการเมืองของพวกเขามีแนวโน้มว่าจะสร้างผลกระทบได้มากขึ้นเรื่อย ๆ และสามารถทำให้นายทรัมป์และนักการเมืองคนอื่น ๆ ปวดหัวได้
"พวกเขาทั้งหมด" - Google News
June 23, 2020 at 08:40PM
https://ift.tt/2VawH0W
TikTok กับ คน ‘Gen Z’ พวกเขาจะเป็นผู้กำหนดทิศทางการเมืองโลกต่อจากนี้จริงหรือ - บีบีซีไทย
"พวกเขาทั้งหมด" - Google News
https://ift.tt/2VFpqXR
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3dnz7A2
Bagikan Berita Ini
0 Response to "TikTok กับ คน ‘Gen Z’ พวกเขาจะเป็นผู้กำหนดทิศทางการเมืองโลกต่อจากนี้จริงหรือ - บีบีซีไทย"
Post a Comment