
แม้ว่ากลุ่มสถาบันการเงินจะเป็นภาคธุรกิจอันดับต้น ๆ ในการลงทุนด้านไอที รวมถึงเป็นกลุ่มแรกที่ตื่นตัวในการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น แต่ก็ยังมีปัญหาอุปสรรคบางประการในการก้าวสู่ดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ
“วีระ อารีรัตนศักดิ์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็ตแอพ ประจำมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย กัมพูชา ลาว และเมียนมาเปิดเผยว่า จากผลรายงาน “Fintech and Digital Banking 2025 Asia Pacific” ของ IDC หรือ Internet Data Center ประจำปี 2020 แสดงให้เห็นว่า ตลาด FSI (financial security และ insurance) เป็นช่วงการมาถึงของ digital banking ที่ทุกองค์กรต่างมุ่งไป
แต่ก็ยังพบปัญหาบางประการ อาทิ การขาด customer adoption ในแง่ของการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ที่ตอบสนองลูกค้า เนื่องจากยังคงคุ้นชินกับลักษณะของการทำงานในรูปแบบเดิม ๆ โดยเฉพาะในเรื่องของโครงสร้างระบบไอทียังมีส่วนที่เป็นระบบเก่า หรือ legacy system ที่ในงานวิจัยพบว่า มีอายุการใช้งานเฉลี่ยราว 17.5 ปี ซึ่งไม่เอื้อต่อการพัฒนาระบบงานให้เป็นดิจิทัลได้สะดวกเท่ากับโครงสร้างสถาปัตยกรรมด้านไอทีในยุคใหม่ Customer Insight หัวใจสำคัญ เรื่องการ digital transformationซึ่งเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงกันมาซักระยะแล้ว ตลาด FSI ต้องมองในส่วนของการเพิ่มประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้าที่ใช้บริการ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ
แต่ตลาด FSI ยังขาดในเรื่องของ customer insight นั้นคือขาดความเข้าใจจริง ๆ ว่า ลูกค้าต้องการอะไร ซึ่งจะทำได้ด้วย “ข้อมูล” แต่ข้อมูลลูกค้าที่กลุ่ม FSI ต้องมี ไม่ใช่แค่ข้อมูลพื้นฐานของลูกค้าแต่ละคน แต่ต้องรู้ไปถึง lifestyle ของลูกค้าจึงจำเป็นต้องมีการจัดเก็บและบริหารจัดการข้อมูลปริมาณมหาศาลยิ่งในยุคที่พฤติกรรมผู้บริโภคก้าวสู่ digital lifestyle การทำความเข้าใจและตอบสนองความต้องการอย่างรวดเร็ว จะทำได้เมื่อมีเครื่องมือในการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างทันท่วงที
รวมถึงพัฒนา business processมาเป็นตัวช่วยทางธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ รวมถึงสร้างบริการที่หลากหลาย ซึ่งปัจจุบันจะเห็นเทรนด์ของตลาด FSI ที่มีการขยายบริการไปกว้างกว่าแค่การ “ฝากถอนกู้เงิน”
“เทรนด์ FSI ในปัจจุบัน คือ การทำให้ channel เดียวสามารถ integrate ข้อมูล และเป็น omni channel ในการตลาดยุคใหม่ รวมทั้ง intelligent banking ที่แบงก์จะเข้าใจลูกค้ามากขึ้น ด้วยการนำ AI หรือ artificial intelligence และ ML หรือ machine learning มาใช้ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล รองรับ digital lifestyle”
โอกาสมหาศาลจากข้อมูล
ด้านสถาบันการเงินในประเทศไทยยังมีโอกาสที่มาก หลายแห่งเริ่มให้ความสำคัญกับ modern และ modular agree-venture ในการพัฒนาระบบ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถปรับเปลี่ยนการพัฒนาและบริการต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น
ขณะเดียวกันก็ควรมองไปถึงการขยายความร่วมมือกับพันธมิตรในธุรกิจต่าง ๆ รวมถึงสตาร์ตอัพด้านการเงิน เพื่อสร้างบริการใหม่ ๆ ให้กับลูกค้า นอกเหนือจากแค่บริการทางการเงิน ซึ่งจะสร้าง customers loyalty เป็นการรักษาฐานลูกค้าเดิมและขยายฐานลูกค้าใหม่
นอกจากนั้น ในเรื่องของ new digital workloads ถือเป็นเทรนด์ที่มาใหม่ ซึ่งปัจจุบันกลุ่มธุรกิจการเงินได้ย้ายระบบงานไปไว้บนคลาวด์แล้วกว่า 50% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับปริมาณข้อมูลที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลจากการขยับสู่บริการใหม่ ๆ เพื่อรองรับ digital lifestyle
“ทุกอุตสาหกรรมไม่ใช่แค่แบงก์ มีมากกว่า 80% ที่ใช้คลาวด์ ทุกองค์กรจะมุ่งไปสู่คำว่า hybrid multicloud ที่รวมทั้ง private publiccloud และ hybrid multi cloud ซึ่งจะตอบโจทย์ในการเพิ่มขีดความสามารถใหม่ ๆ เพื่อไปสู่การสร้าง digital channel digital experience ให้ลูกค้า เนื่องจากสามารถขยายการใช้งาน และทำให้ time to market ของการพัฒนาบริการใหม่ ๆ ทำได้รวดเร็ว”
"เป็นต้นฉบับ" - Google News
June 19, 2020 at 04:00PM
https://ift.tt/3fCIz3D
จับ "ข้อมูล" ปั้นธุรกิจใหม่ เป็นให้มากกว่าสถาบันการเงิน - ประชาชาติธุรกิจ
"เป็นต้นฉบับ" - Google News
https://ift.tt/2xbvptW
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3dnz7A2
Bagikan Berita Ini
0 Response to "จับ "ข้อมูล" ปั้นธุรกิจใหม่ เป็นให้มากกว่าสถาบันการเงิน - ประชาชาติธุรกิจ"
Post a Comment