ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล และรองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Thon Thamrongnawasawat ระบุว่า... ไวรัสอัปเดท - กลับมาเจอกันอีกหนเพราะสถานการณ์ในโลกไม่สู้ดี เมื่อวานมีผู้ป่วยเพิ่ม 172,000+ คน มากเป็นอันดับสองนับแต่มีการระบาดครับ 😢 สถานการณ์ในไทยที่นิ่งสุดๆ มาตลอดเดือน ทำให้บางคนคิดว่าในโลกก็คงคล้ายกัน แต่นั่น...ไม่ใช่เลย ตัวเลขผู้ป่วยใหม่รายวันสูงสุดคือ 180,000+ คน นั่นก็เพิ่งเมื่อ 19 มิย. พอถึงเมื่อวาน 1.72 แสนคน หมายความว่าโลกอาจเพิ่งมาถึงช่วงพีคลองดูในอเมริกา เราได้ยินว่ามีการระบาดมา 2-3 เดือน จนคิดว่าเลยพีคไปแล้วในปลายเมษา/ต้นพฤษภา แต่เมื่อวาน ตัวเลขผู้ป่วยใหม่อยู่ที่ 38,386 คน สูงเป็นอันดับ 2 และน้อยกว่าวันที่สูงสุด (39,072 คน - 24 เมษา) เพียงแค่หลักไม่กี่ร้อยหมายถึงการระบาดในอเมริกาไม่ได้เป็นรูประฆังคว่ำ แต่กำลังจะเป็นรูปหลังอูฐสองหนอกซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ระยะเวลาที่โลกจะผ่านพ้นโควิดก็คงเลื่อนออกไป เพราะหากอเมริกายังไม่จบ การเดินทางไปมาหาสู่คงไม่สามารถเปิดเต็มที่
นอกจากนี้ ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นตลอดมาจากอินเดีย ผู้ป่วยใหม่เมื่อวาน 16,870 คน มากสุดตั้งแต่มีการระบาดกราฟอินเดียไต่ขึ้นเรื่อยๆ จนยากบอกว่าจะไปจบตรงไหน เพราะประเทศนี้คน 1,300 ล้าน
ถึงตอนนี้เทสต์ไปแล้ว 75 ล้านเทสต์ แต่หากคิดถึงจำนวนคน คงต้องใช้เวลาอีกพอควร และการล็อคดาวน์ในช่วงใหม่ก็อาจทำไม่ได้เข้มแข็งเหมือนช่วงแรกๆ เนื่องจากปัญหาปากท้อง
ผมเชื่อว่าแต่ละประเทศคงหาทางอยู่ร่วมกับไวรัสในแบบของตัวเอง แต่ปัญหาสำคัญคือกว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นคงนานกว่าที่คาดไว้บางธุรกิจอาจต้องพัก เช่น สายการบินบางสายต้องหยุดไปชั่วคราว จำต้องปลดพนักงาน ฯลฯ ผมเชื่อว่าการฟื้นตัวของโรงแรม/การบิน/อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องคงเป็นลักษณะช้าๆ แบบกราฟทอดยาวขึ้นเนิน ซึ่งยิ่งทอดยาว ยิ่งส่งผลต่อการกลับมา แม้แต่ตอนนี้ หลายโรงแรมอยากเปิดแต่หาคนกลับมาทำงานไม่พอ เพราะปล่อยไปหมดแล้ว จะเรียกกลับก็ไม่ได้เท่าเดิมมองในแง่ธรรมชาติ ผมสบายใจว่า เราจะได้พักกันนานพอควรครับ โดยเฉพาะทะเลเพราะปัญหาหลักอยู่ที่เรือวิ่งไปมา แต่ค่อนหนึ่งของเรือเหล่านั้นให้บริการนักท่องเที่ยวต่างชาติ ไม่ใช่คนไทย
เมื่อแก๊งค์ทัวร์เอเชียยังไม่มาง่ายๆ เรือก็ไม่วิ่ง สัตว์ทะเลก็ยังร่าเริงแต่เมื่อมองในแง่ปากท้องของคน ก็คงได้แต่สะท้อนใจผมเคยผ่านวิกฤตช่วงต้มยำกุ้ง หนนั้นเพื่อนๆ โดนกันเยอะ แต่ส่วนใหญ่อยู่ในธุรกิจการเงิน/ธนาคาร/อสังหาผิดจากหนนี้ที่ผลกระทบอาจกว้างกว่า จุดสำคัญคือหลายอย่างที่เราสร้างมา จังหวะกำลังจะเริ่มไปด้วยดี กลับมาหยุดชะงัก และกลับไปเหมือนเก่าก็ยาก เพราะมีคนรุ่นต่อๆ ไปตามมาตลอดหลายคนพูดกันถึงการมองหารายได้หลายทาง เพราะคำว่ามั่นคงอาจไม่มีจริงต่อไปผมเห็นด้วยนะครับ เมื่อพายุแรงกำลังมา เราก็ต้องหาทางหนีทีไล่แต่อยากแนะเพื่อนธรณ์ไว้ว่า ระหว่างวิ่งหาชูชีพ เราก็ต้องช่วยวิดน้ำที่เข้าเรือให้ออกไปด้วยผมคิดว่าความรักและทุ่มเทให้องค์กรเป็นจุดสำคัญมากเพราะหลายองค์กรอาจไม่ล้ม แต่ต้องรีดไขมันส่วนเกินออกไป
ซึ่งเราต้องทำตัวให้เป็นกล้ามเนื้อที่มีประโยชน์ ไม่ใช่เป็นไขมันอยู่ไปวันๆ รอโดนรีดถึงแม้ในที่สุด เราอาจจำใจต้องจาก แต่ก็ต้องเป็นวันที่องค์กรไปต่อไม่ไหว ไม่ใช่โดนโยนทิ้งระหว่างทางเพราะถูกคิดว่าไม่มีประโยชน์ อยู่ไปก็หนักเรือเพื่อนธรณ์อาจคิดว่า ทำไมนักอนุรักษ์ถึงมาแนะนำเรื่องนี้ก็คงบอกกันตรงๆ ว่าผมเคยอยู่มาหลายแห่ง ทำงานเป็นนักวิจัยได้เงินเดือนประจำที่จุฬาตั้งแต่เป็นนิสิตปีสาม ไปเรียนต่อเมืองนอกก็ทำงานเป็น project manager ของ GBRMPAย้ายมาอยู่เกษตรก็ทำงานมาตลอด เป็นรองคณบดี 3 สมัย หัวหน้าภาค รองหัวหน้าภาค ฯลฯ เป็นมาหมดแล้ว
สิ่งหนึ่งที่เรียนรู้คือผมเป็นคนรักองค์กรเป็นรองคณบดีรวมเวลาเกิน 10 ปี ยังไม่เคยมีคณบดีท่านใดมาบอกให้ผมทำอะไรเลย เพราะทุกท่านรู้ดีว่าถ้าผมเห็นช่อง ผมทำได้ ผมจะทำเลย ไม่ต้องรอให้บอกผมอาจมีตำแหน่งเป็นรอง แต่ตำแหน่งบริหารไม่ใช่ตำแหน่งความรัก
ผมเชื่อมั่นว่าคุณแม่บ้านก็รักองค์กรเท่าๆ กับคณบดีได้จึงอยากบอกเพื่อนธรณ์ไว้ สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆ ในเวลานี้ ไม่ใช่เพียงคิดถึงตัวเองแต่ความรักองค์กรของเราต้องถึงขีดสุด
และสุดท้าย ต่อให้องค์กรเราไปต่อไม่ได้ แต่ความรักองค์กรจะเป็นคุณสมบัติติดตัวเราไป จนกว่าเราจะหารักแห่งใหม่ได้ครับ
"เป็นต้นฉบับ" - Google News
June 26, 2020 at 07:17AM
https://ift.tt/381nhdy
'อ.ธรณ์'มองวิกฤติโควิด เตือนคนทำงานทุ่มเทเพื่อองค์กร ทำตัวเป็น'กล้ามเนื้อ'ไม่ใช่'ไขมัน' - สยามรัฐ
"เป็นต้นฉบับ" - Google News
https://ift.tt/2xbvptW
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3dnz7A2
Bagikan Berita Ini
0 Response to "'อ.ธรณ์'มองวิกฤติโควิด เตือนคนทำงานทุ่มเทเพื่อองค์กร ทำตัวเป็น'กล้ามเนื้อ'ไม่ใช่'ไขมัน' - สยามรัฐ"
Post a Comment