Search

3 จุดยืนยุค 5G ของ "โนเกีย ประเทศไทย" (Cyber Weekend) - ผู้จัดการออนไลน์

faca.prelol.com


อัปเดตชีวิตล่าสุดของ "โนเกียประเทศไทย" หลังเดวิด อ็อกซ์ฟอร์ด (David Oxford) ขึ้นมานั่งเก้าอี้ผู้อำนวยการ บริษัท โนเกีย (ประเทศไทย) เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา

จุดยืนแรกที่บริษัทจะโฟกัสในยุค 5G คือการเปิดกว้างเป็นพันธมิตรกับองค์กรไทย เพื่อเป็นทางเลือกผู้ให้บริการ 5G ในประเทศ นอกจากนี้คือการแสดงตัวเป็นบริษัทเดียวที่มีอุปกรณ์และให้บริการ 5G แบบ end-to-end ระดับโลก ที่สามารถให้บริการครบวงจรในทุกประเทศโดยไม่มีบัญชีดำ หรือคำสั่งแบน

จุดยืนที่ 3 คือโนเกียจะต่อยอดธุรกิจหลังจากที่หยั่งรากในตลาดไทยมากกว่า 30 ปี ให้บริการตั้งแต่ 2G ในปี 1990 วันนี้โนเกียมุ่งมั่นจะทำธุรกิจในประเทศไทยต่อไป เพื่อสร้างโอกาสให้ 5G สามารถผลักดันเศรษฐกิจไทย

ทุกจุดยืนสะท้อนว่า โนเกียวันนี้เป็นองค์กรที่หวังลูกค้าองค์กรใหญ่หรือเอ็นเตอร์ไพรส์แบบเต็มตัว เปลี่ยนจากการเข้าถึงตัวผู้บริโภคอย่างที่เคยทำได้ในยุคแรก (และเคยล้มเหลวไปในยุคสมาร์ทโฟน)

***เปลี่ยน CEO ครั้งแรกในรอบ 10 ปี

เป็กก้า ลุนด์มาร์ก (ซ้าย) ขณะจับมือกับซีอีโอคนก่อน
Oxford เล่าถึงบริษัทแม่อย่างโนเกียที่ฟินแลนด์ ว่าเป็นบริษัทที่ไม่ได้เปลี่ยนตัวประธานเจ้าหน้าที่บริหารมานานกว่า 10 ปี จนกระทั่ง 1 สิงหาคม โนเกียประกาศชื่อ CEO คนใหม่ชื่อ เป็กก้า ลุนด์มาร์ก (Pekka Lundmark)

"CEO รายนี้มีความเหมาะสมมาก เพราะเป็นคนฟินแลนด์ และมาจากบริษัทพลังงาน ไม่ได้มาจากบริษัทเทคโนโลยีเหมือน CEO โนเกียคนอื่นๆ"

Oxford อธิบายว่า การที่ Lundmark อยู่ในอุตสาหกรรมพลังงานนั้นเป็นข้อดี เนื่องจากอุตสาหกรรมพลังงานเป็นอุตสาหกรรมที่มีโอกาสใช้งาน 5G อย่างมาก ทำให้วิสัยทัศน์และประสบการณ์ของ Lundmark มีส่วนช่วยพัฒนาโนเกียในมุมใหม่แน่นอน

วันนี้ โนเกียบันทึกว่าตัวเองเป็นบริษัทอันดับ 2 ในกลุ่มผู้ให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมของโลก มีรายได้มากกว่า 23,300 ล้านยูโรในปีที่ผ่านมา งบที่ใช้ไปกับการลงทุนวิจัยและพัฒนาในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาทะลุหลัก 129,000 ล้านยูโรแล้ว จำนวนพนักงานมากกว่า 98,000 คนทั่วโลก

เฉพาะแบรนด์โนเกีย การประเมินล่าสุดพบว่ามีมูลค่าเกิน 8,900 ล้านยูโร มูลค่านี้แสดงว่าชื่อแบรนด์โนเกียยังแข็งแกร่งมาก ในวันที่โนเกียสามารถเป็นบริษัทผู้ให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมอันดับ 2 ของโลก บนผลงานล่าสุดคือการทำสถิติระบบ 5G เร็วที่สุดในโลกได้สำเร็จ

โนเกียเคลมว่า ตัวเองเป็นเบอร์หนึ่งในตลาดซอฟต์แวร์สำหรับบริษัทด้านโทรคมนาคม มีซอฟต์แวร์เทคโนโลยีทั้ง AI และ Customer Experience มีหน่วยงานพัฒนา 5G สำหรับองค์กรโดยเฉพาะ ตั้งชื่อว่าโนเกีย เบลล์ แล็ปส์ (Nokia Bell Labs) ทำหน้าที่ศึกษาพัฒนาโซลูชันสำหรับองค์กรโดยเฉพาะ ล่าสุด มีการพัฒนาเทคโนโลยี 6G แล้ว เพื่อรองรับความต้องการในอนาคต

***รบเต็มที่ 5G ไทย

เดวิด อ็อกซ์ฟอร์ด
สำหรับประเทศไทย แม้จะปฏิเสธไม่บอกตัวเลขการลงทุนในไทย แต่โนเกียยืนยันว่าจะเป็นพันธมิตรกับทุกฝ่ายโดยเฉพาะภาครัฐ ขณะที่โอเปอเรเตอร์ไทยที่เป็นพันธมิตรกับโนเกียแล้วมีทั้งทรูและดีแทคซึ่งจะทำโครงการต่อเนื่องถึงปีหน้า ยังมีเอไอเอสที่พร้อมจะร่วมงานเป็นพันธมิตรในประเทศไทย

ข้อตกลงระหว่างโนเกียกับทรู ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ ระบุว่า ทรูจะใช้โซลูชัน IP/MPLS ของโนเกียเพื่อให้บริการ network slicing ใน EEC ขณะที่ข้อตกลงร่วมกับดีแทค โอเปอเรเตอร์อันดับ 3 ของไทยจะใช้อุปกรณ์โนเกียเพื่อให้บริการโซลูชัน 5G/4G ในปีหน้า

สำหรับเอไอเอส โนเกียย้ำว่า กำลังทำงานร่วมด้วยเช่นกัน ทำให้โนเกียมีสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ให้บริการรายใหญ่ของไทยทั้ง 3 ราย รวมถึงองค์กรใหญ่รายอื่น และเป็นพันธมิตรกับรัฐบาลไทยด้วย

ผู้บริหารโนเกียมองว่า จุดสำคัญของการพัฒนา 5G ไทยจะเกิดขึ้นที่กรุงเทพฯ และ EEC ซึ่งเป็นสถานที่เหมาะสมในการทดลองใช้เทคโนโลยีใหม่ ส่วนตัว Oxford นั้นได้เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาระบบโทรคมนาคมไทยเกี่ยวกับโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่น สนามบินอู่ตะเภา และแนวทางที่รัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้านครหลวง จะสามารถใช้ 5G เพื่อพัฒนาสมาร์ทกริดและสมาร์ทมิเตอร์ได้

Oxford ยังให้เครดิตรัฐบาลไทย ว่าให้ความสำคัญกับธุรกิจโทรคมนาคมมาก ทั้งด้านการกำหนดทิศทางใช้งานคลื่นความถี่ และอัตราภาษีที่สนับสนุนผู้ประกอบการ ล้วนขับเคลื่อนอุตสาหกรรมโทรคมนาคมได้ดี การสนับสนุนจากรัฐบาลสามารถดึงดูดบริษัทและอุตสาหกรรมจำนวนมาก ทั้งหมดนี้โนเกียมองการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลเป็นเรื่องสำคัญ และการดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆเพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจไทยโดยรวม


จากการศึกษาของโนเกีย พบว่า การรับส่งข้อมูลบนมือถือในประเทศไทยประมาณ 30% จะเกิดขึ้นบนเครือข่าย 5G ภายในปี 2568 ถือว่าสูงกว่าสัดส่วน 23% ที่คำนวณได้ในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก อย่างไรก็ตาม แม้ไทยจะเปิดตัว 5G ได้ก่อนประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาค แต่การศึกษาก็พบว่า 5G ไทยจะไม่ขยายตัวเร็วเท่าสิงคโปร์และเวียดนาม ซึ่งคาดว่าผู้ใช้ 5G ในอาเซียนจะทะลุ 200 ล้านคนภายในปี 68 เช่นกัน

ผู้บริหารโนเกียยังโชว์ผลสำรวจว่า 5G จะมีบทบาทสำคัญกับเศรษฐกิจโลก โดยขณะนี้ 129 ประเทศทั่วโลกมีการเตรียมพร้อมเพื่อให้บริการ 5G ผ่าน operator มากกว่า 397 ราย แต่ในช่วง 5 ปีนับจากนี้ คาดว่าทราฟฟิก 5G ส่วนใหญ่จะมาจากอเมริกาและเอเชีย

Oxford คาดการณ์ว่าสมาร์ทโฟนที่รองรับ 5G จะยังไม่มีการใช้งานแพร่หลายในเอเชีย จนกว่าราคาจะลดลงเหลือระดับ 400-500 เหรียญสหรัฐ (12,000-15,000 บาท) จากที่สูงเกิน 1,000 เหรียญในปัจจุบัน

ในมุมของโนเกีย จุดเด่นใน 5G ของโนเกียที่จะถูกชูขึ้นมาเพื่อแข่งขันกับอีริคสันและหัวเว่ย ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1.การเป็นผู้ให้บริการแบบครบวงจรทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ไม่แค่สถานีฐานเท่านั้นแต่ยังครอบคลุมโซลูชัน 2.ความหน่วงต่ำ เพราะโนเกียมีเทคโนโลยีคลาวด์แบบกระจาย (distributed cloud) ที่นำระบบประมวลผลมาไว้ใกล้ตัวผู้ใช้ได้มากที่สุด จนทำให้ระดับความหน่วงต่ำมาก

3.ความปลอดภัยของระบบ 4.การทำ network slicing หรือการตัด network ออกเป็นส่วนย่อยเพื่อให้ธุรกิจและผู้ใช้สามารถกำหนดความเร็วแบบเฉพาะตามความต้องการ เทคโนโลยีนี้มีความสำคัญเพราะในอนาคต network slicing จะใช้แรงงานคนทำไม่ได้ แต่จะต้องเป็นระบบอัตโนมัติเพื่อรองรับอุปกรณ์กว่า 1,800 ล้านชิ้นที่จะเชื่อมต่อบน 5G

และ 5.คือความเชี่ยวชาญการให้บริการระบบออโตเมชันสำหรับอุตสาหกรรม ทั้งในส่วน IoT และภาคการผลิต ทั้งหมดนี้ทำให้ลูกค้าของโนเกียในวันนี้มีทั้ง StarHub และ M1 ของสิงคโปร์ที่ใช้โซลูชันของโนเกียให้บริการโครงข่าย 5G ทั่วประเทศ ยังมี Singtel ที่ให้บริการ 5G network slicing ด้วยโซลูชันของโนเกีย รวมถึงผู้ผลิตรถรายใหญ่อย่าง Toyota เพื่อให้ฝ่ายการผลิตที่ญี่ปุ่นสามารถใช้งานเครือข่ายไร้สาย 5G แบบไพรเวต (private) และบริษัทญี่ปุ่นรายใหญ่อย่าง Rakuten Mobile ที่ใช้บริการของโนเกีย สร้างเครือข่ายเนทีฟคลาวด์แบบ end to end สำหรับบริการ 4G และ 3G เป็นรายแรกของโลก


ปัจจุบัน โนเกียให้บริการเครือข่าย 4G และ 5G แบบ private แล้ว 180 เครือข่ายทั้งในกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นหน่วยงานรัฐ บริษัทด้านพลังงาน และโลจิสติกส์ โดยในช่วงไตรมาส 2 ปี 63 แผนกงาน Nokia Enterprise สามารถทำยอดขายเติบโตได้มากกว่า 18% ต่อปี ตัวเลขนี้สะท้อนว่าโนเกียโฟกัสธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์อย่างจริงจัง จนสามารถขยายตลาดอย่างเห็นได้ชัด

สำหรับปีนี้ โนเกียระบุว่า จะวางเป้าหมายโฟกัสที่อุตสาหกรรมเพื่อทำยูสเคสให้องค์กรไทยเห็นประโยชน์ชัดเจน จุดนี้อาจต้องใช้เวลาในการสร้าง แต่ก็ถือเป็นพันธกิจหลักในฐานะผู้อำนวยการของโนเกียประเทศไทย
ความท้าทายที่สุดในรอบปีนี้สำหรับโนเกียคือโควิด-19 ผู้บริหารระบุว่า โควิด-19 มีอิมแพกต์มากต่อทั้งประชาชนและธุรกิจไทย โนเกียในฐานะบริษัทสื่อสาร ก็จะต้องทำหน้าที่ให้ดีเพื่อให้ทุกการสื่อสารสามารถทำได้ต่อเนื่องในช่วงวิกฤต โดยที่ทุกคนรวมถึงพนักงานต่างปลอดภัย

ทั้งหมดนี้คือจุดยืนยุค 5G ของ "โนเกีย ประเทศไทย"

Let's block ads! (Why?)



"เป็นต้นฉบับ" - Google News
September 26, 2020 at 08:57AM
https://ift.tt/3kOGXGD

3 จุดยืนยุค 5G ของ "โนเกีย ประเทศไทย" (Cyber Weekend) - ผู้จัดการออนไลน์
"เป็นต้นฉบับ" - Google News
https://ift.tt/2xbvptW
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3dnz7A2

Bagikan Berita Ini

0 Response to "3 จุดยืนยุค 5G ของ "โนเกีย ประเทศไทย" (Cyber Weekend) - ผู้จัดการออนไลน์"

Post a Comment

Powered by Blogger.