บริษัทวิจัยของสหรัฐฯ พบยา remdesivir สามารถรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ได้ผล ขณะที่ทีม นักวิจัยของออสเตรเลียพบ “วัคซีน” ตอบสนองภูมิคุ้มกัน ฆ่าเชื้อไวรัสได้ ด้านไทยเร่งพัฒนาวัคซีน
หนทางเดียวที่จะสามารถยุติการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 คือการวิจัยพัฒนาวัคซีนเพื่อใช้ป้องกันโรค หรือการคิดค้นตัวยารักษาขึ้นมาได้
ล่าสุดเป็นที่น่ายินดี เมื่อบริษัทวิจัยของประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถคิดค้นตัวยาและทดลองใช้รักษากับผู้ป่วยโควิด-19 ได้ผล
นายแพทย์แอนโทนี ฟอซี ที่ปรึกษาฝ่ายสาธารณสุข ประจำทำเนียบขาว ได้เปิดเผย ข้อมูลการใช้ยา remdesivir ซึ่งเป็นยาแอนตี้ไวรัสของ บริษัท Gilead Sciences ในการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ถือเป็นข่าวดี
นายแพทย์ ฟอซี กล่าวว่า เขาได้รับแจ้งว่า การทดลองดังกล่าวแสดงผลตอบรับที่เป็นบวกในการลดเวลาการฟื้นตัวของผู้ป่วยโรคโควิด-19
ด้านบริษัท Gilead Sciences แถลงว่า ทางบริษัทได้รับข้อมูลที่น่าพึงพอใจในการใช้ยา remdesivir ในการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19
ทั้งนี้ Gilead ระบุว่า ผลการศึกษาการใช้ยา remdesivir ซึ่งทางบริษัทดำเนินการร่วมกับสถาบันภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติ มีผลการรักษาเป็นไปตามเป้าหมายในเบื้องต้น
Gilead ยังเปิดเผยว่า ผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำนวนอย่างน้อย 50% ที่ได้รับยา remdesivir เป็นเวลา 5 วันมีอาการดีขึ้น และผู้ป่วยจำนวนมากกว่า 50% ที่ได้รับยา remdesivir สามารถออกจากโรงพยาบาลภายในเวลา 2 สัปดาห์
อย่างไรก็ดี Lancet ซึ่งเป็นวารสารทางการแพทย์ รายงานว่า ผลการใช้ยา remdesivir ของบริษัท Gilead Sciences ในการทดสอบทางคลินิกที่จีน พบว่า ยาดังกล่าวไม่สามารถเร่งอัตราการฟื้นตัวของผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการหนัก เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการให้ยาหลอก (placebo)
ผู้เขียนบทความดังกล่าวระบุว่า การแปลผลการทดลองดังกล่าวอาจถูกจำกัดจากการที่โครงการทดสอบการใช้ยา remdesivir ในจีนได้ถูกยกเลิกไม่นานหลังมีการเปิดตัว เนื่องจากผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าวมีจำนวนน้อยเกินไป จากการที่ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในจีนลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่สามารถได้ข้อสรุปทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ
ออสซี่พบ”วัคซีน” สร้างภูมิคุ้มกัน
ด้านการคิดค้นทด ลองวัคซีนรักษาโควิด-19 ล่าสุด สำนักข่าวซินหัวราย งานว่า คณะนักวิจัยของออสเตรเลียเปิดเผยว่า วัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งอยู่ระหว่างการทดลอง แสดงศักยภาพกระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่เพียงพอจะฆ่าเชื้อไวรัสได้ในขั้นทดลองก่อนดำเนินการทด สอบในมนุษย์
สำหรับวัคซีนดังกล่าว พัฒนาโดยมหาวิทยาลัย ควีนส์แลนด์ ของออสเตรเลีย โดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า การหนีบในระดับโมเลกุล หรือ โมเลคูล่า แคล็มพ์ (molecular clamp) ซึ่งได้รับสิทธิบัตรแล้ว โดยวัคซีนนี้ถูกนำไปทดสอบในหนูเมื่อไม่นานมานี้ และพบว่าสามารถกระตุ้นแอนติบอดี้ที่จำเป็นต่อการโจมตีไวรัสโคโรนาที่ก่อโรคโควิด-19 ได้
ด้านบรรดาผู้นำของโครงการวิจัยนี้ต่างยินดีกับผลลัพธ์ที่ดีพอต่อการเร่งพัฒนาวัคซีนตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ โดยศาสตราจารย์ พอล ยังก์ ผู้ร่วมนำการวิจัยของโครงการร่วมของมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ระบุว่า เป็นสิ่งที่ทีมงานคาดหวังไว้และทำให้ทีมวิจัยโล่งอก ที่ฝากความเชื่อมั่นไว้กับเทคโน โลยี จากความร่วมมือด้านนวัตกรรมความพร้อมเกี่ยวกับโรคระบาด ทั้งจากรัฐบาลกลางและรัฐควีนส์แลนด์ ตลอดจนบรรดาพันธมิตรเพื่อการกุศลนี้ โดยทีมงานยินดีอย่างยิ่งที่การตอบสนองของแอนติบอดี้ ดีกว่าที่ทด ลองในตัวอย่างจากผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่หายดีแล้ว
ขณะเดียวกัน มีการส่งตัวอย่างจากการทดลองในหนู ไปยังสถาบันโดเฮอร์ทีในนครเมลเบิร์น เพื่อทดสอบความสามารถในการโจมตีไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะ อีกด้วย ซึ่งศาสตราจารย์คันทา ซับบาเรา จากสถาบันแห่งนี้พบแอนติบอดี้ระดับสูงในตัวอย่างการทดลอง ซึ่งชี้ว่าสามารถฆ่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่มีชีวิตในการเพาะเลี้ยงเซลล์ได้
ถือเป็นการค้นพบครั้งสำคัญยิ่ง เพราะมีการตอบสนองทางภูมิคุ้ม กันที่คล้ายกับของวัคซีนโรคซาร์ส (SARS) ในแบบจำลองสัตว์ ซึ่งนำไปสู่การป้องกันการติดเชื้อได้
ขณะนี้เวโรคลินิกส์ เอกซ์พลอร์ (Viroclinics Xplore) ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติเนเธอร์แลนด์ และเป็นผู้ร่วมโครงการกับมหาวิทยาลัย ก็กำลังทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนในสัตว์ขนาด ใหญ่ชนิดต่างๆ ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งคาดว่าจะเห็นผลลัพธ์ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน โดยบริษัทแห่งนี้กำลังตรวจสอบเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสามารถของวัคซีน ในการป้อง กันไวรัสที่มีชีวิตในการทดลองกับสัตว์ต้นแบบหลายชนิด
คาดไทยได้ไช้วัคซีนม.ค.64
ด้านความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ในไทย โดยทีมไทยแลนด์ ซึ่งประกอบด้วยภาครัฐและเอกชน 11 หน่วยงาน นายวิฑูรย์ วงศ์หาญกุล ประธานกรรมการบริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด เปิดเผยว่า การพัฒนาวัคซีนจากการทด ลองในสัตว์จะรู้ผลในเดือนพฤษภาคมนี้ หากได้ผลดีจะเริ่มทดลองในคน อีก 3 ระยะ
จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) คาดว่าหากประสบผลสำเร็จไทยจะได้ใช้วัคซีนได้เร็วสุดไม่เกินเดือนมกราคม-มีนาคม 2564
ทั้งนี้ การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ต้องร่นระยะเวลาให้เร็วขึ้น จากปกติต้องใช้เวลานาน 5-15 ปี
สำหรับบริษัท ไบโอเนท-เอเชียฯ ถือเป็นบริษัทเอกชนรายแรกในประเทศ ไทย ที่พัฒนาวัคซีนโควิด-19 คาดว่าจะใช้งบประมาณ 500-1,000 ล้านบาท ในการทดลองในมนุษย์ ซึ่งหากประสบสำเร็จคนไทยจะได้ใช้วัคซีนที่ผลิตเองโดยคนไทย ขณะที่ก่อนหน้านี้บริษัทประสบความสำเร็จในการพัฒนาวัคซีนไอกรนมาแล้ว
หน้า 12 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,571 วันที่ 3-6 พฤษภาคม 2563
"แสดงผล" - Google News
May 02, 2020 at 04:00PM
https://ift.tt/2youyGO
ยารักษาโควิดได้ผล 'สหรัฐ'วิจัยสำเร็จ-ออสซี่พบวัคซีนสนองภูมิคุ้มกัน - ฐานเศรษฐกิจ
"แสดงผล" - Google News
https://ift.tt/3cS0tOw
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ยารักษาโควิดได้ผล 'สหรัฐ'วิจัยสำเร็จ-ออสซี่พบวัคซีนสนองภูมิคุ้มกัน - ฐานเศรษฐกิจ"
Post a Comment