อรชุน
สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยดีวันดีคืน ถึงขนาดที่เตรียมจะผ่อนปรนในเฟสสองกันไว้แล้ว เป้าหมายหลักก็คือห้างสรรพสินค้าและร้านค้าภายใน แต่คงไม่ใช่การเปิดให้บริการเหมือนที่ผ่านมา ต้องมีกติกาที่วันก่อน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แง้มมาบ้างแล้ว คือ จำกัดจำนวนคนเข้าไปใช้บริการในแต่ละรอบ ให้ใช้บริการได้ไม่เกินคนละ 2 ชั่วโมง โดยที่เจ้าของกิจการจะต้องมีมาตรการในการป้องกันการแพร่และรับเชื้ออย่างเคร่งครัด
ภายใต้ข้อจำกัดเหล่านี้ ฝ่ายผู้ประกอบการคงต้องบวกลบคูณหารคุ้มค่าหรือไม่ สิ่งที่จะต้องเป็นต้นทุนเพิ่มขึ้นแน่ ๆ คือ เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย เจลล้างมือ ที่จะต้องมีคงหนีไม่พ้นแอปพลิเคชันในการตรวจสอบร่วมกับภาครัฐ สิ่งสำคัญคือ การเข้าไปใช้บริการของลูกค้า อาจจะต้องมีกฎ กติกาที่หยุมหยิม ซึ่งขัดกับหลักการการให้บริการ แต่ภายใต้ภาวะบริบทการใช้ชีวิตที่ต้องปรับเปลี่ยนกันคงไร้ปัญหา ทว่าเปิดแล้วดีหรือไม่ต้องไปวัดกันอีกที
อย่างไรก็ดี เรื่องการรับมือและแก้ไขสถานการณ์โควิด-19 นั้น อย่างที่บอกไว้ หากไม่มีมิติอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง รัฐบาลกับบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ถือว่าต้องได้รับคำสรรเสริญจากใจจริง ทุกสิ่งที่ทำมาถือว่าดูแลความปลอดภัยในชีวิตของคนไทยได้เป็นอย่างดียิ่ง ไม่มีอะไรที่ขาดตกบกพร่อง แต่สิ่งที่ฝ่ายบริหารอำนาจรัฐยังสอบไม่ผ่านและถูกวิจารณ์จนถึงเวลานี้ คงหนีไม่พ้นมาตรการช่วยเหลือ เยียวยาที่ยังมีปัญหาคาราคาซัง
วัดได้จากจำนวนของคนที่ไปร้องเรียนถึงกระทรวงการคลัง ที่วันนี้ใช้สถานที่ของกรมประชาสัมพันธ์เป็นพื้นที่รับเรื่อง พอฟังปัญหาของคนที่ไปร้องแล้วมันก็วกกลับไปสู่ยังจุดตั้งต้นที่เคยทักท้วงไว้ นี่คือการดำเนินนโยบายแบบ “ไม่ได้คิดก่อนทำ” มันจึงเกิดช่องโหว่บานทะโร่ จะอ้างเรื่องของความรวดเร็วอย่างไรก็ฟังไม่ขึ้น เพราะถ้าช้าแล้วชัวร์ ทุกคนไร้ข้อกังขา อย่างตัวเลขตั้งต้น 3 ล้านคนใช้ฐานอะไรมาคิด สุดท้ายก็จบกันที่ 16 ล้านคน
หากเป็นสถานการณ์ปกติ คนส่วนใหญ่ก็คิดกันไปแล้วว่านี่คือการทุจริตอย่างมโหฬาร แต่ภายใต้วิกฤตการณ์ที่กำลังเผชิญเสียงทักท้วงในลักษณะติดใจจึงเบาบาง ซึ่งนี่ก็เป็นภาพสะท้อนแล้วว่า การประเมิน วิเคราะห์สถานการณ์ของบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อเรื่องนี้ของรัฐบาลล้มเหลวไม่เป็นท่า หาก “คิดก่อนทำ” กันตั้งแต่ต้น วางระบบเรียบร้อย กำหนดคุณสมบัติชัดเจนและมีเจ้าหน้าที่พิทักษ์สิทธิ์เหมือนอย่างที่เพิ่งคิดได้ตอนหลัง โครงการเราไม่ทิ้งกันคงสำเร็จ เรียบร้อยไปตั้งนานแล้ว
เช่นเดียวกัน สิ่งที่คนส่วนใหญ่เฝ้ารอดูเวลานี้ หลังผ่านพ้นสถานการณ์โควิด-19 ไปแล้ว การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลซึ่งถือว่าเป็นงานหินรออยู่ข้างหน้า จะโชว์ศักยภาพกันได้กี่มากน้อย แต่พอได้ฟังกูรูด้านนี้ของรัฐบาล ยังคงเที่ยวโยนไปถึงสถานการณ์เศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ได้ยินแล้วก็รู้สึกวังเวง ถ้าคิดได้เท่านี้ ไม่ต้องมีทีมเศรษฐกิจอะไรกันแล้ว ประเภทรู้ปัญหานั้น คนธรรมดาทั่วไปใครก็อ่านเกมออก เพราะมันกระทบไปทั้งโลก
หน้าที่ของคนที่มาเป็นรัฐบาลแล้วรับผิดชอบด้านเศรษฐกิจ ไม่ใช่มาเที่ยวบอก แสดงความรู้ในเชิงวิชาการว่าสถานการณ์ประเทศนั้นประเทศนี้เป็นอย่างไร สิ่งที่คนไทยทั้งประเทศอยากรู้คือ ภายใต้สถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ ผู้กุมอำนาจรัฐจะมีวิธีการนำพาประเทศให้เดินไปข้างหน้าได้อย่างไร ช่วยเหลือประชาชนที่ทุกข์ยากแสนเข็ญกันด้วยวิธีไหน จึงไม่แปลกทำไมทั้งที่ถืออำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด จึงหมดปัญญาที่จะทำให้คนไทยหายจนกันทั้งประเทศ
ยิ่งมองไปยังยุทธศาสตร์ชาติประเภทโพนทะนาจะทำให้คนไทยหลุดกับดักรายได้ปานกลาง ยิ่งมองไม่เห็นหนทางที่จะเดินไปถึงจุดนั้น และที่หลุดหายไปจากวงโคจรไม่รู้ว่าเพราะเลิกเห่อแล้วหรือมันทำไม่ได้อย่างที่คุยโม้โอ้อวดคือ ไทยแลนด์ 4.0 ผลพวงจากเอไอไร้ประสิทธิภาพในการแจกเงินเยียวยา 5 พัน คงทำให้เห็นแล้วว่า ที่เพ้อพกกันมานั้น มันทำได้จริงหรือไม่ คนที่ตั้งมาดูในเรื่องดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ก็ทำได้แค่เพียงจับผิด เล่นงาน ฝ่ายการเมืองตรงข้ามตัวเองเท่านั้น
สิ่งที่เป็นภาพสะท้อนความไม่เอาอ่าวเอาทะเลอีกประการของคนที่กุมบังเหียนกระทรวงดิจิทัลฯ ก็คือ ความล่าช้าโคตรในการตัดสินใจเพิ่งนึกได้หรือว่า ที่เคยไล่ให้คนชวดเงิน 5 พันไปยื่นผ่านออนไลน์เท่านั้น ที่บอกให้คนทำงานอยู่ที่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ ความจริงแล้วต้องสนับสนุนในแง่ของอินเทอร์เน็ตฟรีตั้งแต่เริ่มต้นขอความร่วมมือ แต่เพิ่งได้ยินจากปาก พุฒิพงษ์ ปุณณกันต์ เจ้ากระทรวงว่าสั่งการให้ กสท และทีโอที ไปดำเนินการจัดหาเน็ตฟรีให้บ้านที่ไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้เป็นเวลา 3 เดือน
ปุดโธ่! เวลาล่วงเลยมาจนป่านนี้ทำไมความรู้สึกถึงช้าจัง นี่ไง! บทพิสูจน์สิ่งที่เคยพูดกันมาตลอด ทุกการตัดสินใจของรัฐบาลนี้มักจะช้ากว่าสถานการณ์ไปอย่างน้อย 1 ก้าวเสมอ คงไม่ต่างกันกับกรณีของการแก้ปัญหาการบินไทย ที่วันก่อนฟังท่านผู้นำแยกเขี้ยวคำรามใส่คนในองค์กร ต้องรู้จักเสียสละและยอมรับการเปลี่ยนแปลง พร้อมขู่ว่านี่เป็นโอกาสสุดท้ายที่จะต้องสะสางปัญหาที่หมักหมมมานานให้เสร็จเรียบร้อย
ความจริงคนจำนวนไม่น้อยก็ตั้งคำถามกับท่านผู้นำเหมือนกัน ที่รำพึงรำพันว่าให้เวลามากกว่า 5 ปีแล้วยังแก้ไขไม่ได้ ทำไมมันถึงเป็นเช่นนั้น ทั้งที่ในจังหวะที่ตัวเองมีอำนาจเด็ดขาดอยู่ในมือโดยเฉพาะมาตรา 44 ทำไมกลับไม่คิดแก้ปัญหาให้เบ็ดเสร็จในเวลานั้น ดังนั้น การที่ไปตำหนิฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่อกระบวนการแก้ปัญหาการบินไทย ก็เท่ากับตบหน้าตัวเองไปในตัวด้วย จนหลายคนอดสงสัยไม่ได้ มันมีอะไรที่เข้าทำนองลูบหน้าปะจมูกหรือเปล่า
ข้อเสนอที่ว่าให้รัฐบาลขายหุ้นของหน่วยงานรัฐบาลออกไปจากร้อยละ 60.72 โดยให้เหลือในสัดส่วนที่มีบทบาทในเรื่องการเจรจาเกี่ยวกับสิทธิการบินในต่างประเทศเท่านั้น ส่วนที่เหลือก็เป็นการระดมทุนในรูปแบบธุรกิจปกติผ่านตลาดหุ้นไทย ในกรณีนี้คงมีกระแสต่อต้านแน่ด้วยภาพลักษณ์สายการบินแห่งชาติ เหมือนอย่างที่ ถาวร เสนเนียม คนที่กำกับดูแลว่าจะขายสมบัติชาติไม่ได้ แต่อย่าลืมเป็นขาดขนาด วอร์เรน บัฟเฟตต์ ยังเทขายหุ้นการบินในพอร์ตทิ้งทั้งหมด พร้อมประกาศ “เป็นความผิดของผมเองที่ตัดสินใจผิดพลาดเกี่ยวกับธุรกิจดังกล่าว” น่าจะเป็นสัญญาณให้คนที่กำลังหาทางแก้ปัญหาบินไทยได้คิดเหมือนกัน
"ทำมัน" - Google News
May 11, 2020 at 06:08AM
https://ift.tt/2WkxSfv
พาราสาวะถี • ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์ - ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์
"ทำมัน" - Google News
https://ift.tt/2yR92uw
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3dnz7A2
Bagikan Berita Ini
0 Response to "พาราสาวะถี • ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์ - ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์"
Post a Comment