
โดย Aqil Haziq Mahmud สถานีข่าวซีเอ็นเอ (สิงคโปร์)
สรุปความโดย บุศรินทร เลิศชวลิตสกุล
กองทัพสิงคโปร์ (Singaporean Armed Forces-SAF) ปรับค่ายทหาร 6 แห่งเป็นพื้นที่รักษาแรงงานอพยพที่อาจติดเชื้อไวรัสโคโรนา โดยส่งเจ้าหน้าที่ 600 คนสร้างและเตรียมทั้งเตียง ห้องนอน และที่รับประทานอาหาร ในเวลาเพียง 2 สัปดาห์
ค่ายทั้ง 6 แห่งตั้งอยู่ในชุมชนพื้นที่ Jurong, Bedok, Amoy Quee, Guillemard, Tanjong Gul และ Lim Chu Kang ที่ถูกเปลี่ยนชื่อเรียกเป็นหน่วยบริการพักฟื้นชุมชน (Community Recovery Facilities-CRFs) ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายนที่ผ่านมา เพื่อสังเกตอาการของแรงงานจนครบ14 วันและให้แน่ใจว่าไม่ติดเชื้อหรือต้องรับการรักษาต่อไป และภายในเดือนมิถุนายนนี้ รัฐบาลสิงคโปร์วางแผนเตรียมเตียงรองรับผู้ติดเชื้อให้ได้ 10,000 เตียงในหน่วยบริการพักฟื้นชุมชนทุกแห่ง
รายงานข่าวเปิดเผยว่าการปรับค่ายทหารเป็นหน่วยบริการพักฟื้นชุมชนนั้น มีการสำรวจมาก่อนหน้านี้ โดยเลือกค่ายที่ไม่ได้มีปฏิบัติการทางการทหารหรือค่ายที่ตั้งห่างออกมาจากชุมชน หน่วยบริการแต่ละแห่งที่สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 300 คนต่อวัน และมีศักยภาพรองรับสูงสุดได้ถึง 5,300 คน ปฏิบัติการในพื้นที่กองทัพครั้งนี้อยู่ภายใต้การดูแลของพันเอก Chua Jin Kiat ที่ยืนว่าพื้นที่และการเตรียมตัวดังกล่าวน่าจะเพียงพอต่อความจำเป็นและหยุดการระบาดของไวรัส
แรงงานอพยพที่เข้ารับบริการในค่ายทหาร 6 แห่งนี้ต้องปฏิบัติตามข้อแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด โดยหลักการสำคัญคือต้องได้รับการตรวจสแวบ เทสต์ (swab test) แล้วได้ผลเป็นลบ 2 ครั้งในเวลา 2 วันต่อเนื่องกัน จากนั้นได้ถูกส่งตัวมาที่หน่วยบริการพักฟื้นชุมชนเพื่อสังเกตอาการ ในแต่ละวันระหว่างกักตัวในหน่วยบริการฯ พวกที่ยังต้องได้รับการตรวจอย่างต่อเนื่องจนครบกำหนดโดยเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วยเทคโนโลยีอย่างเครื่องตรวจไข้อินฟราเรด ระบบการจัดการข้อมูล และแอพลิเคชันสำหรับติดตามสุขภาพ
ตั้งแต่วันแรกที่แรงงานถูกส่งตัวมายังหน่วยบริการฯ พวกเขาถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มเล็กเพื่อให้ปฏิบัติตามกฎการเว้นระยะห่างทางกายภาพเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อระหว่างกัน และมีจุดเฉพาะในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การไปรับแจกอาหาร จุดกินอาหาร หรือจุดพักผ่อน พวกเขาได้รับอาหาร 3 มื้อ มีไวไฟให้ใช้บริการพร้อมซิมโทรศัพท์ อีกทั้งในหน่วยบริการดังกล่าวยังมีร้านสะดวกซื้อขายพวกของกินเล่นและเสื้อผ้าด้วย
พันเอก Chua ยอมรับว่าสถานการณ์ที่แรงงานอพยพเผชิญคือประสบการณ์ที่ไม่น่าประทับใจนัก เพราะพวกเขาติดเชื้อโควิด-19 แน่นอนว่าพวกเขาแสดงความกลัวออกมา จนต้องมีการให้กำลังใจและปลอบขวัญกัน “ขั้นสุดท้ายคือบอกพวกเขาว่า คุณกำลังจะโอเคแล้ว เมื่อคุณไปที่นั่น (หน่วยบริการพักฟื้นชุมชน) คุณจะได้รับการรักษาและสามารถกลับไปทำงานได้เหมือนเดิม”
สิ่งที่แรงงานต้องปฏิบัติจนกลายเป็นกิจวัตรประจำวันคือ สำหรับคนที่ไม่ได้ถือศีลอดในช่วงรอมฎอน สามารถออกมารับอาหารเช้าได้ในเวลา 7 โมง จากนั้นพวกเขาอาจกลับไปพักผ่อนในที่พัก เดินเล่น หรือเอาผ้าไปซัก และในทุกวันจะมีกิจกรรมที่เรียกว่า “พาเหรดคนป่วย” (sick parade) ที่แรงงานต้องมารายงานอาการกับเจ้าหน้าที่แพทย์เพื่อรับยาหรือการรักษาหากมีอาการปวดเมื่อยตามตัวหรือปวดหัว อาการที่หนักที่สุดที่พบขณะนี้คืออีสุกอีใส
หลังมื้อกลางวัน มีคนขายของในชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนตัวหรือพีพีอี (Personal Protective Equipment -PPE) ขับรถบรรทุกเข้าไปขายของกินเล่น เครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ และของใช้จำเป็นอย่างผ้าขนหนูและเสื้อผ้าสำหรับคนที่ไม่ได้จัดกระเป๋ามาสำหรับการถูกกักตัว ส่วนมื้อเย็นเริ่มประมาณ 6 โมง ซึ่งพันเอก Chua ยอมรับว่าอาหารที่รัฐเตรียมไว้ให้อาจไม่ได้น่าตื่นตาตื่นใจมากนัก แต่ยืนยันได้ว่าเป็นไปตามที่ทุกคนต้องการและได้มาตรฐานสวัสดิการที่ควรได้รับ
สำหรับมาตรการด้านความปลอดภัยนั้น เจ้าหน้าที่กองทัพสิงคโปร์ได้เตรียมตัวอย่างดีด้วยการใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาและใส่ชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนตัว เมื่อต้องเข้าสู่พื้นที่ “โซนสีเหลือง” ซึ่งหมายถึงทางเดินและทางเข้าที่แรงงานต้องเดินผ่าน อีกทั้งต้องสวมถุงมือและแผ่นใสบังหน้าหรือเฟสชิลด์ ขณะที่ “โซนสีแดง” คือพื้นที่ที่แรงงานพักและกักตัวเองพร้อมกับสิ่งของจำเป็นที่ต้องใช้ แต่เจ้าหน้าที่แทบไม่จำเป็นต้องเข้าไปในโซนสีแดงเลย ดังนั้น เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายและคนขายของได้รับการเตือนตลอดเวลาในการปฏิบัติตัวในพื้นที่กักตัวของแรงงาน นอกจากนี้ บริเวณหน่วยบริการพักฟื้นชุมชนมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และตำรวจในพื้นที่ที่พร้อมเป็นกำลังเสริมหากมีสถานการณ์ฉุกเฉิน
รัฐบาลสิงคโปร์ภายใต้การรับผิดชอบทหารพยายามแสดงให้เห็นว่า แรงงานเหล่านี้มีพื้นที่ในการเดินไปมาในหน่วยบริการฯ ที่ถูกส่งตัวไปดูอาการและรักษาในพื้นที่อื่นๆ ด้วย เช่นบางคนถูกส่งไปกักตัวในพื้นที่ศูนย์แสดงสินค้าสิงคโปร์ (Singapore Expo) ซึ่งอยู่ในอาคารขนาดใหญ่ เพราะฉะนั้น การที่ได้ออกมาเจอเจ้าหน้าที่สาธารณสุขด้านนอก ทำให้พวกเขาสดชื่นที่ได้เห็นพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก
พันเอก Chau กล่าวว่าปฏิบัติการที่เกิดขึ้นสร้างความประทับใจกับแรงงานที่ได้สะท้อนผ่านข้อความในกลุ่มแชตวอทส์แอพพ์ (WhatsApp) ที่ใช้สื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่และแรงงาน บางคนคนเผยว่าได้คุยกับเพื่อนที่ทำงานในประเทศอื่นแต่ไม่ได้รับการปฏิบัติที่ดีเท่ากับพวกเขาที่อยู่ในสิงคโปร์ “…จะเห็นว่าพวกเขาซาบซึ้งและตื้นตันกับสิ่งที่ประเทศนี้ได้ทำเพื่อพวกเขา”
อย่างไรก็ตาม ทางกองทัพสิงคโปร์เตรียมส่งมอบปฏิบัติการทั้งหมดให้กับบริษัทด้านจัดการหอพักเป็นผู้รับช่วงต่อเมื่อผ่านไปแล้วหนึ่งสัปดาห์ เนื่องจากเห็นว่าบริษัทน่าจะทำหน้าที่ได้เหมาะสมกว่า เพื่อที่เหล่าทหารจะได้กลับไปปฏิบัติหน้าที่หลักของตนเอง
————–
ที่มา: https://bit.ly/35FUlqq
หมายเหตุ-บทความนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่างศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กับ the Department of Southeast Asia Studies มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆในประเทศไทย
"พวกเขาทั้งหมด" - Google News
May 09, 2020 at 01:44PM
https://ift.tt/2SRrpXj
สำนักข่าวชายขอบ - คนชายข่าว คนชายขอบ - Transborder Reporters
"พวกเขาทั้งหมด" - Google News
https://ift.tt/2VFpqXR
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3dnz7A2
Bagikan Berita Ini
0 Response to "สำนักข่าวชายขอบ - คนชายข่าว คนชายขอบ - Transborder Reporters"
Post a Comment